พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา

พระสูตร, พรหมชาลสูตร, พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ อินทนนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา : การปริวรรต ตรวจชำระและวิเคราะห์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรต ตรวจชำระและวิเคราะห์พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารชั้นต้นคือพรหมชาลสูตต์ฉบับวัดนาปัง จังหวัดน่าน วัดดวงดี และวัดร่ำเปิง จังหวัดเชียงใหม่ และเอกสารรวมทั้งงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่า พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา ถูกเขียนขึ้นโดยพระสัทธัมมกิตติ วัดโปฏฐการาม (ช่างลาน) เชียงใหม่ โดยไม่ได้ระบุปีที่เขียนไว้ ต่อมา โปราณาจารย์ทางล้านนาได้นำมาคัดลอกเพื่อการศึกษาและเก็บรักษาไว้ตามหอธรรมของวัดต่าง ๆ  โครงสร้างของคัมภีร์ประกอบด้วยปณามคาถา เนื้อหาและนิคมนคาถา  ในส่วนของเนื้อหานั้นเป็นการนำเอาเนื้อหาในสุมังคลวิลาสินี ซึ่งเป็นอัตถกถาทีฆนิกาย ของพระสุตตันตปิฏกมาแปลแบบนิสสัย การปริวรรตได้ใช้เกณฑ์การปริวรรตโดยการเทียบเคียงอักษรล้านนากับภาษาไทย ตามหลักการเทียบอักษรของอุดม รุ่งเรืองศรี ในหนังสือพจนานุกรมล้านนา – ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง การตรวจชำระภาษาบาลี ได้ใช้บาลีที่เป็นหลักสูตรของการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน ส่วนที่เป็นภาษาล้านนานั้นได้ใช้พจนานุกรมล้านนา-ไทย ส่วนการวิเคราะห์นั้นได้วิเคราะห์โครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วยปณามคาถา เนื้อหาและนิคมนคาถา และสำนวนการแปลซึ่งเป็นการแปลแบบนิสสัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย

Author Biography

วิโรจน์ อินทนนท์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปรัชญา, ศาสนา และ วัฒนธรรมล้านนา

References

เอกสารชั้นต้น

พรหมชาลสูตร วัดนาปัง น่าน พ.ศ.2358 รหัสไมโครฟิล์ม นน 09 02 038 00

พรหมชาลสูตร วัดดวงดี เชียงใหม่ พ.ศ.2460 รหัสไมโครฟิล์ม ชม 19 02 022 00

พระไตรปิฎก ฉบับภาษาล้านนาไทย เล่มที่ 1 พ.ศ.2530. คณะสงฆ์ภาคเหนือ โดยพระครูพิพัฒน์คณาภิบาล

วัดร่ำเปิง จังหวัดเชียงใหม่.

เอกสารชั้นรอง

พระไตรปิฎกภาษาไทย. 2539. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิโรจน์ อินทนนท์. 2549. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิโรจน์ อินทนนท์,ยศพล เจริญมณี. 2560. วิสุทธิมัคค์สำนวนล้านนา. กรุงเทพฯ: The Print Idea.

วิโรจน์ อินทนนท์,ยศพล เจริญมณี. 2563. พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา. กรุงเทพฯ: The Print Idea.

สุตนฺตปิฏเก มหาจุฬาอฏฺฐกถา. 2532. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิญญาณ.

สุมังคลวิลาสินี. 2539. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อุดม รุ่งเรืองศรี. 2547. พจนานุกรมล้านนา – ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า ช – ต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024