สุนทรียภาพในคำประพันธ์ล้านนาประเภทค่าว

ผู้แต่ง

  • หทัยวรรณ ไชยะกุล -

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุนทรียภาพในคำประพันธ์ล้านนาประเภทค่าว โดยรวบรวมข้อมูลจากวรรณกรรมประเภทค่าวที่เด่น ๆ และแต่งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้ค่าวมีความไพเราะงดงามหรือมีสุนทรียภาพมี 3 ประการ คือ 1) จำนวนคำในวรรค 2) ตำแหน่งสัมผัส 3) เสียงวรรณยุกต์ กล่าวคือ จำนวนคำในวรรคต้องเป็นไปตามที่กำหนด คือ อยู่ระหว่าง 7-8 คำ หากจำนวนคำน้อยหรือเกินกว่าที่กำหนด ส่งผลให้ค่าวมีความไพเราะลดลง เช่นเดียวกับตำแหน่งสัมผัสบังคับต้องตรงตามฉันทลักษณ์ อีกทั้งคำในตำแหน่งสัมผัสบังคับไม่ควรเป็นคำเดียวกันส่งสัมผัสกัน เพราะจะทำให้ความไพเราะลดลง ส่วนเสียงวรรณยุกต์ที่สำคัญและทำให้ค่าวแต่ละวรรคมีความไพเราะหรือไม่ คือเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค ซึ่งมีทั้งเสียงวรรณยุกต์สามัญ เสียงโท (โทพิเศษ หรือเสียงครึ่งตรีครึ่งโทหรือโทเลื่อน) เสียงตรี และเสียงจัตวา ฉะนั้นจะต้องเลือกคำที่มีเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคตามที่กำหนด ค่าวจึงไพเราะสุนทรีย์ ลักษณะเช่นนี้จัดเป็นความไพเราะเชิงวัตถุวิสัย ส่วนความไพเราะอันเกิดจากการใช้เสียงสัมผัสอักษร การซ้ำเสียงพยัญชนะ การซ้ำคำ รวมถึงการใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่โวหารอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิพากษ์ ปฏิปุจฉา สัทพจน์ บุคลาธิษฐาน นามนัย อติพจน์ การอ้างถึง และอุปมานิทัศน์ ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สอดคล้องกันอย่างพอเหมาะก่อให้เกิดความไพเราะและสุนทรีย์ในคำประพันธ์ประเภทค่าว

References

กรรณิการ์ วิมลเกษม. (2555). ภาษาไทยถิ่นเหนือ. ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ค่าวซอเรื่องธรรมจั๋นต๊ะฆา. (2513). โรงพิมพ์กลางเวียง.

ค่าวซอเรื่องธรรมชิวหาลิ้นคำ. (ม.ป.ป.). โรงพิมพ์กลางเวียง.

ค่าวซอเรื่องธรรมนกกระจาบ. (ม.ป.ป.). โรงพิมพ์กลางเวียง.

ค่าวซอเรื่องธรรมวงศ์สวรรค์. (2511). โรงพิมพ์กลางเวียง.

ค่าวซอเรื่องธรรมวรรณพราหม. (ม.ป.ป.). โรงพิมพ์กลางเวียง.

ค่าวซอเรื่องสุวรรณหอยสังข์. (2512). โรงพิมพ์กลางเวียง.

จินดาพรหม. (นามแฝง). (2539). ตำนานเมืองเชียงใหม่ 700 ปี ฉบับเทิดพระเกียรติการครอง “สิริราชสมบัติ 50 ปี”. ธาราทองการพิมพ์.

ฉัตรยุพา สวัสดิพงษ์. (2516). ค่าวซอเรื่องเจ้าสุวัตร นางบัวคำ. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ชูชาติ ใจแก้ว. (2556). ค่าวและการแต่งค่าว (บทกวี) ล้านนา. ล้อล้านนา.

ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี. (2557). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมค่าวซอเรื่องเศรษฐีหัวเวียง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี. (2566). โครงการพัฒนาทักษะการแต่งค่าว. กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2566. (เอกสารอัดสำเนา).

ธเนศ เวศร์ภาดา. (2549). หอมโลกวรรณศิลป์. ปาเจรา.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2527). “พัฒนาการของวรรณกรรมลานนา: ประเภทลายลักษณ์.” รายงานการสัมมนาทางวิชาการ: วรรณกรรมลานนา เล่ม 2. โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประสงค์ สุใจ. (2556). “การแข่งขันเขียนบทร้อยกรองสด (คร่าวฮ่ำ) ระดับนักศึกษา ประชาชนทั่วไป เนื่องในงานวันมหิดล ประจำปี 2556.” วันมหิดล ประจำปี 2556. หน่วยสนับสนุนวิชาการงานบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว. (บรรณาธิการ). (2536). คร่าวดอยสุเทพและคร่าวซอสร้างถนนในเมืองเชียงใหม่. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มณี พยอมยงค์. (2539). คร่าวร่ำ 700 ปี เมืองเชียงใหม่. ดาวคอมพิวกราฟิก.

ยุทธพร นาคสุข.(บรรณาธิการ). (2547). คร่าวรับเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากร. โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา.

ยุทธพร นาคสุข. (2562). “ข้อเสนอในการจัดแผนผังฉันทลักษณ์คร่าวซอ”. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 8 (1), 212 – 240.

รวมค่าวฮ่ำ. (2512). ประเทืองวิทยา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม: ภาพพจน์โวหาร และกลการประพันธ์. ราชบัณฑิตยสถาน.

ลมูล จันทน์หอม. (2538). วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์.

ศรีคำ บัวโรย. (2556). ปรัชญาและศาสนา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ศิริพงศ์ วงศ์ไชย. (2544). แบบฝึกการแต่งค่าวฮ่ำแบบโบราณล้านนาไทย. ดาวคอมพิวกราฟิก.

สุพรรณ ทองคล้อย. (2561). สารานุกรมคำที่เกี่ยวกับการประพันธ์ร้อยกรอง. ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรชัย ชยาภิวฑฺฒโน,พระมหา และคณะ. (2563). “เกณฑ์การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์: กรณีภาพวาดสิตางคุ์ บัวทอง”. วารสาร มจร.ปรัชญาปริทรรศน์, 3 (1), 11-34.

สุรพันธุ์ สมสีดา. (2562). “ประเภทคร่าวฮ่ำ พระภิกษุ สามเณร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เนื่องในงานวันมหิดล ประจำปี 2562.” วันมหิดล ประจำปี 2562. หน่วยสนับสนุนวิชาการ งานบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรุณ วงศ์รัตน์. (2524). คร่าวซอนิราศบางกอก โดย อรุณ วงศ์รัตน์ และหลักเกณฑ์การแต่งคร่าว โดย สิงฆะ วรรณสัย. ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.

อโศก ศรีสุวรรณ. (2551). ลวงเล่นฝ้า. AP.COM

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2527). ระบบการเขียนอักษรล้านนา. โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (สอบทาน, ปริวรรต, แปล). (2544). คร่าวสี่บท ฉบับนำสอบทาน. เอกสารวิชาการชุดล้านนาคดีศึกษา. สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2549). โวหารล้านนา. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024