วิถีแห่งอานาปานสติสู่ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พระมหาจักรพล เทพา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย https://orcid.org/0000-0001-9184-4273
  • วนิดา ชุลิกาวิทย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

. อานาปานสติ, ความฉลาดทางอารมณ์, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง วิถีแห่งอานาปานสติสู่ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้สูงอายุ เป็นการศึกษาทัศนะที่เกี่ยวกับวิถีการปฏิบัติอานาปานสติและความฉลาดทางอารมณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอานาปานสติและนำเสนอเชิงพรรณนาวิถีสู่ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้สูงอายุด้วยอานาปานสติ

อานาปานสติสูตร เป็นพระสูตรเดี่ยวที่เกี่ยวกับการตั้งสติกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เป็นได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลักธรรมในอานาปานสติสูตรมี (1) สติปัฏฐาน 4  (2) โพชฌงค์ 7 (3) อิทธิบาท 4 (4) สัมมัปปธาน 4 (5) อินทรีย์ 5 (6) พละ 5 (7) อริยมรรค (มรรคมีองค์ 8) เมื่อผู้สูงอายุปฏิบัติอานาปานสติ มีสติกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทำให้เกิดความสงบเย็นเกิดความดีงามเป็นลำดับจากภายใน คือ จิตใจ สู่ภายนอก คือ ร่างกาย และสังคมในวงกว้าง สำหรับผู้สูงอายุที่ได้เจริญอานาปานสติเป็นประจำ จะมีความฉลาดทางอารมณ์สูง สามารถเข้าใจและจัดการกับอารมณ์และความเครียดของตนเองได้อย่างเหมาะสม มีความเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถเรียนรู้วิธีเอาชนะความเครียดและความกดดันจนเกิดความรุนแรงทางอารมณ์ได้ การเจริญอานาปานสติ ถ้าทำให้มากและให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมเป็นผู้ไกลจากกิเลส เกิดวิชชา เกิดสัมมาญาณ คลายความยึดมั่นถือมั่น และสัมมาวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นได้ การเจริญอานาปานสตินอกจากเกิดความฉลาดทางอารมณ์แล้วยังเกิดประโยชน์ 3 คือ 1.ทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ในปัจจุบัน) เพื่อยกระดับความประพฤติทางกาย วาจา และเกิดคุณธรรมทางจิตใจที่สูงขึ้น นอกจากมีประโยชน์แก่ตนเองแล้ว ยังเกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม 2. สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์ในภพหน้าหรือชาติหน้า) ไปเกิดที่ดีซึ่งเป็นจุดหมาย สุดท้ายเกิดประโยชน์สูงสุด คือ 3.ปรมัตถะ สามารถละกิเลส หลุดพ้นจากสังสารวัฎ เข้าสู่ภาวะนิพพานได้

References

ชัญญาภัค พงศ์ชยกร. (2561). มหัศจรรย์แห่งอานาปานสติในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารปรัชญา-ปริทรรศน์, 23 (2), 40.

ตฤณกร เกตุกุลพันธ์. (2560). EQ Management for Excellence. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, จาก https://www.thebest-training. com/

ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ. (2562). สร้างพลังใจให้สูงวัยยามชรา. สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2565, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย (91 เล่ม). พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เล่มที่ 22. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร : บริษัทศิริวัฒนาอินเดอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).

ริชาร์ด เดวิดสัน. (2556). สมองพัฒนาได้ด้วยการเจริญสติ. (ตอนที่ 1). สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2565, จาก https://mgron line.com/dhamma/

วิชนี คุปตะวาทิน, แมน วาสนาพงษ์, พรทิพย์ ขุนดี และรัชตา มิตรสมหวัง. (2561). สังคมสูงวัยกับโลกสมัยใหม่. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(special 2018), 444-450.

วิภาดา สนเพ็ชร และพระมหาบุญไทย ปุญฺญมโนม. (2562). การเจริญอานาปานสติในศูนย์พัฒนาการจัด

สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค, วารสารบัณฑิตศาส์น, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17 (2), 41-42.

พระ คัมภีร์ เทพ ธ มฺ มิ โก. (2018). รูป แบบ การ ให้ คำ ปรึกษา ครอบครัว และ ผู้ สูงอายุ. วารสาร พุทธ จิตวิทยา, 3(1), 38-51.

สุณี เวชประสิทธ์. (2018). รูปแบบการศึกษาพระพุทธศาสนา: ประโยชน์ต่อคนวัยทำงาน. วารสารปรัชญา ปริทรรศน์, 23(1), 93-101.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงปรารถนา : ความฉลาดทางอารมณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Help Guide. (2022). Emotional Intelligence. Retrieve: 20/04/2022 https://www.helpguide.org/

articles/mental-health/emotional-intelligence-eq.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2022