ประสิทะธิผลในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาธสนาคารแห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดเวลา ที่สามารถผ่านวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน ด้วยปัจจัยด้านภาวะผู้นำองค์กร นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมองค์กร การจัดการด้านเทคโนโลยี และการจัดการความรู้ รวมทั้งศึกษาวัดผลระดับปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ใน ธปท. ซึ่งประกอบด้วยความสามารถปฏิบัติตามนโยบาย ความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรและการสื่อสารถึงสาธารณะ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพนักงาน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารใน ธปท. การวิเคราะห์ข้อมูลได้นำระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เข้ามาใช้โดยได้ผสมผสานวิธีการเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณ (Quantitative) ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานจำนวน 387 คนและวิธีการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพ (Qualitative) ซึ่งเก็บข้อมูลจากผู้บริหารด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิจัยแบบการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) และวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของ ธปท. โดยวัดจากปัจจัยของการจัดการด้านเทคโนโลยี และวัฒนธรรมองค์กร อยู่ในระดับสูง 3.80 และ 3.50 ตามลำดับ สำหรับภาวะผู้นำองค์กร นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการจัดการความรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง นอกจากนี้ผลจากการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง การวิจัยแบบการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้าง พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมองค์กร การจัดการด้านเทคโนโลยีและการจัดการความรู้ ส่งผลต่อประสิทธิผลของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในธปท.มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.50,0.35,0.26 และ 0.40 ตามลำดับ ส่วนภาวะผู้นำองค์กร นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงานไม่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ใน ธปท. แต่อย่างไรก็ดี ตัวแปรเชิงสาเหตุที่ทำการศึกษาในแบบจำลองทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนาย ประสิทธิผลของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ธปท. ได้ร้อยละ 76
This research aimed at exploring consumers' physical satisfaction, service attraction, value for money of services and amenities, and shopping experience that affect community mall consumers' behavior in Bangkok Area. The survey is conducted by distributing questionnaire to 400 target persons who had visit community mall in Bangkok Area. The data was analyzed and research hypotheses were tested using Pearson's correlation, simple regression analysis, multiple regression analysis, and One-Way ANOVA. This study found that physical satisfaction, service attraction, and value for money of services and amenities can predict shopping experience significantly at 0.05 level. And Shopping experience can predict the customers' visit frequency and time spending in community mall significantly at 0.05 level.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”