จริยธรรมการตีพิมพ์
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานของบทความวิจัย และผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ
2. ผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมต้องลงนามในหนังสือรับรองก่อนจะตีพิมพ์บทความในวารสาร ว่าบทความที่ส่งมายังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด
3. ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น หากนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ จะต้องมีการจัดทำการอ้างอิงตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
4. ผู้เขียนต้องรายงานข้อมูลการวิจัยที่เกิดขึ้นจริง ไม่บิดเบือนข้อมุล และไม่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
5. ผู้เขียนที่มีรายชื่อปรากฎในบทความ ต้องมีส่วนในการทำการวิจัยจริง
6. จัดทำรูปแบบบทความตามคำแนะนำในการเตรียมบทความของวารสาร
7. ผู้เขียนต้องแก้ไขความถูกต้องของบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) และกองบรรณาธิการ
8. ผู้เขียนที่มีการเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานอื่น จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานนั้นๆ
9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ ควรมีหนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. จัดทำวารสารให้เป็นไปตามนโยบายและทิศทางที่กำหนด
2. กลั่นกรอง คัดสรรบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารอย่างเข้มข้น มุ่งหวังให้เกิดคุณภาพและเกิดประโยชน์กับผู้อ่าน
3. คัดเลือกบทความมาตีพิมพ์ หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ องค์ความรู้ใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหา
4. ตรวจสอบการคัดลอกอย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือ
5. บรรณาธิการต้องหยุดการประเมินบทความ หากพบว่าบทความที่ส่งมาตีพิมพ์คัดลอกผลงานของผู้อื่น และปฏิเสธการรับบทความนั้นๆ
6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์กับผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ และทีมผู้บริหาร
7. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความให้แก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ไม่มีอคติ ให้ข้อคิดเห็นตรงไปตรงมา สร้างสรรค์ นำไปสู่การปรับปรุงบทความที่ได้มาตรฐานทางวิชาการ
2. ประเมินบทความที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาคุณภาพของบทความ ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลมารองรับในการให้ข้อเสนอแนะหรือตัดสินบทความ
3. ให้ข้อเสนอแนะ และระบุตัวอย่างผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่ประเมินแต่ผู้นิพนธ์บทความไม่ได้อ้างถึง
4. หากผู้ประเมินตระหนักว่า อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ ควรแจ้งบรรณาธิการวารสาร และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
5. หากผู้ประเมินบทความพบว่า บทความที่ประเมินมีความซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
6. ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ