การประยุกต์ความรู้จากวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาสื่อเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมด้านความกตัญญูผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาระับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินและเปรียบเทียบพัฒนาการของนักศึกษาด้านความสามารถในการประยุกต์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านคุณธรรมจริยธรรม และด้านความร่วมมือในการทำงานเป็นทีม และ 2) เพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีและแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาสาระด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 13 ตอนเรียน รวมทั้งหมด 546 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความสามารถของนักศึกษาในการประยุกต์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาสื่อบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) แบบประเมินพฤติกรรม/คุณลักษณะด้านความกตัญญูของนักศึกษาผ่านการฝึกปฏิบัติพัฒนาสื่อเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม 3) แบบสังเกตแนวปฏิบัติที่ดีจากการทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาจากการฝึกปฏิบัติพัฒนาสื่อเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม และ 4) แบบสอบถามคุณลักษณะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาผ่านการฝึกปฏิบัติพัฒนาสื่อเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม ผลการศึกษา พบว่า ความสามารถของนักศึกษาในการประยุกต์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาสื่อบนเครือข่ายสังคมออนไลน์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.048 (S.D. = 1.181) และหลังจากการฝึกปฏิบัติพัฒนาสื่อบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ นักศึกษามีพัฒนาการด้านความกตัญญูเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 55.74 ส่วนด้านความร่วมมือในการทำงานเป็นทีมเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 47.35 ผลการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีจากการทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาในการประยุกต์ใช้ความรู้จากวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาสื่อในการเสริมสร้างคุณธรรมด้านความกตัญญู ประกอบด้วย 1) จัดกลุ่มรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย โดยให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผนงาน ตรวจสอบ วิจารณ์และคัดเลือกงานกลุ่มที่จะนำเสนอ 2) ต้องมีการกำหนด "หัวหน้ากลุ่ม " และ "ลูกทีม" ให้ชัดเจน เพื่อรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 3) มีการจัดการจำนวนสมาชิกในกลุ่มตามความเหมาะสม 4) ใช้หลักประชาธิปไตยในการตัดสินผลงานของนักศึกษา สำหรับแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาสาระด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม มีดังนี้ 1) ใช้กระบวนการเชิงระบบในการวางแผนงานในการมอบหมายงานให้กับนักศึกษา 2) จัดจำนวนนักศึกษาให้เหมาะสมในการทำงานกลุ่ม 3) จัดกิจกรรมโดยใช้เครือข่ายสังคมที่นักศึกษาคุ้นเคยและสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
The purposes of this research were 1) to evaluate and compare the ability of the student development as follows: the applied knowledge of Information Technology course in morality and ethic, corporation and teamwork, also 2) to study good practice of student's teamwork and introduce the guidance for learning's process management which integrated the content of information technology with the moral principles development. This research is experimental research, using one group pretest-posttest design. The judgment sampling groups of this research are 546 students (13 sections) who studied Information Technology course in the first semester of the academic year 2011. Research tools are: 1) the ability examination for measuring the applied knowledge in information technology in order to develop the online social networking 2) the paper of good practice's observation 3) the gratefulness evaluation paper and 4) the teamwork questionnaires. The studies shown that the average score of the student's ability for developing the online social networking is 5.048 (S.D. = 1.181). The development of the student's gratefulness increased sharply (55.74%) and the cooperated teamwork rise gradually (47.35). The good practices from this study are compose of 1) to form a team of responsibility which everybody can be a part of planning, verification, judgment and selection 2) to select the header and members of teamwork 3) to manage the proper amount of members and 4) to encourage the democratic principle for judgment. The guidance for integrated learning information technology with the moral principles as follows: 1) to apply the systematic process for assignation 2) to evaluate the proper amount of members and also 3) to propose the social media with interested activities motivation and learning easier.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
เกษม นครเขตต์. (2554). แนวคิดและทฤษฎีเครือข่ายทางสังคม (Social Network Theory). สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2554, จาก http://wiki.nectec. or.th/ru-newwiki/pub/1T630 10 AssignmentSecA/ ParametNinFormatTest/0004-.pdf
จําเนียร บุญมาก. (2553). Teamwork. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2554, จาก http://www.bablog.mju.ac.th/ jamnian /?page_id=422
ธิดาพร โตสติ. (2546). การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้เพื่อกําหนดแนวทางจัด กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปริญญาครุศาสตรมหา บัณฑิต, ภาควิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นงลักษณ์.
วิรัชชัย ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ และศจีมาศ ณ วิเชียร. (2551). การวิจัยและพัฒนาตัวบ่งชี้ คุณธรรมจริยธรรม. รายงานวิจัยเรื่องที่ 2 ใน 4 ของ ชุดโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรม.
แพรภัทร ยอดเกล้า. (2552). พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kohlberg). สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2554, จาก http://www.gotoknow.org/blog/theories/236980
ศิณีย์ สังข์รัศมี. (2545). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2554, จาก http://www.cdd.moi.go.th/april44.htm
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร กนกชัยสกุล. (2553). เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking Website). สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2555, จาก http://www.bu.ac.th/knowledge center/executive journal/jan_mar_10/pdf/29-32.pdf
สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). ปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมระดับ บุคคลเพื่อมุ่งความสําเร็จของส่วนรวมของนักศึกษา มหาวิทยาลัย: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552).กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สํานักงานฯ