กรค้าระหว่างประเทศ:การพัฒนาและการเติบโต

Main Article Content

วริษา กังสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศต่างๆ มีทรัพยากรที่มีความแตกต่างกัน รสนิยมที่หลากหลายและต้นทุนในการผลิตสินค้ามีความแตกต่างกัน ทำให้แต่ละประเทศเกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ทั้งนี้การค้าขายมักมีอุปสรรคคือมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี เข้ามาเป็นตัวกีดกันทางการค้าส่งผลให้ประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการค้าไม่ว่าจะเป็นมูลค่าการค้าระหว่างกัน มูลค่ารายได้ในประเทศ และการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่สูงขึ้นเท่าที่ควร ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงได้มีการพัฒนาเข้าสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยเอื้อประโยชน์ทางการค้าระหว่างกัน ตลอดจนสามารถต่อรองด้านการค้ากับประเทศต่างๆ มากขึ้น ทั้งนี้ การรวมกลุ่มต้องมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ประเทศสมาชิกมีอำนาจต่อรองให้มากที่สุด ตลอดจนประเทศต้องมีความพร้อมเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

 

International trade is a factor that builds growth and economic development in each country. Any countries have different resources, preferences and production cost that cause trade exchange. However, the trade faces restrictions that are tariff and non-tariff barriers as a preventive tool that causes unsteadily mutual trade value, national income value and economic growth. Therefore, any countries are integrated economically to benefit each other and make more negotiation power with other countries. Moreover, such economic integration must to develop and makes the member countries have the most bargaining power including any countries have to be prepared to benefit them in term of economy and sustainable development.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกศินี เจริญสุวรรณ. (2541). ผลกระทบของการส่งออกต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ทัชชมัย ฤกษะสุต. (2549). แกตต์และองค์การการค้าโลกพิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์วิญญูชน.

นงนุช พันธกิจไพบูลย์. (2540). เศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ที พี เอ็น เพรส.

นิฐิตา เบญจมสุทิน และนงนุช พันธกิจไพบูลย์. (2548).เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวเรศ ทับพันธุ์. (2549). เศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ ทฤษฎีและนโยบาย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รัตนา สายคณิต และชลลดา จามรกุล. (2549) เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วราภรณ์ โภคภิรมย์. (2547). ความสัมพันธ์ของการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

วัชระ ทัศภาค. (2536). ผลของการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิรัช ธเนศวร. (2549). เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ (2551). การแสวงหาผลประโยชน์จากข้อตกลงการเปิดเสรี ระยะที่ 2 รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2536), สงครามเขตการค้า กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เนชั่นพับลิชชิ่งกรุ๊ป จํากัด.

หัสพร ทองแดง. (2548). ผลของการลงทุนโดยตรงจากจีนต่อการค้าระหว่างประเทศไทย-จีน, วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ASEAN Secretariat. (2009). ASEAN Finance and Macro-economic Surveillance United Database. Retrieved September 24, 2012,from http://www.aseansec.org/18137.htm

Baldwin, Robert E. (2003). Openness and growth: What's the empirical relationship? Retrieved September 10, 2012, from http:// www.nber.org/papers/w9578

Bank of Thailand. (2012). Total export and import value indices. Retrieved September 17, 2012, from http://www2.bot.or.th/ statistics/ReportPage.aspx?reportID=112&language=ENG

Lieberman, M. & Hall, R.E. (2008). Principles and Applications of Economics. Mason,

OH: Thomson South-Western.

Krugman, Paul. (2009). The increasing returns revolution in trade and geography. The American Economic Review, 99(3), 561-571.

OECD. (2012). OECD Factbook 2011-2012.Retrieved September 10, 2012, from http:// www.oecd-ilibrary.org/economics/economics key-tables-from-oecd 2074384x

World Bank. (2012). World Bank National Accounts Data. Retrieved September 16, 2012, from http://data.worldbank.org/ indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG