ฉากในจินตนิยายของแก้วเก้า: ความหมายทางพุทธศาสนา

Main Article Content

รัชนีกร รัชตกรตระกูล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเสนอการตีความฉากในจินตนิยายของแก้วเก้าที่สนับสนุนแนวคิดเรื่องผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในกิเลส คือ ความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลงทำให้เกิดความทุกข์ และแนวคิดเรื่องกรรมคือผู้ที่ทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลกรรมนั้น จากการศึกษาพบว่าแก้วเก้าใช้ฉากเพื่อสนับสนุนแนวคิดทางพุทธศาสนาใน 2ลักษณะ ลักษณะแรกคือการใช้ฉากเป็นสัญลักษณ์แทนกิเลสหรือความทุกข์ ลักษณะที่สองคือการใช้ฉากที่เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา โดยแก้วเก้ามักจะใช้ฉากเพื่อสนับสนุนแนวคิดทางพุทธศาสนาในลักษณะเดียวกัน และในจินตนิยายบางเรื่องแก้วเก้าได้ตั้งชื่อตามฉากของเรื่องซึ่งแสดงให้เห็นว่าฉากเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อแนวคิด

คำสำคัญ : ฉาก, จินตนิยาย, การตีความทางพุทธศาสนา

 

Abstract

This article aims to interpret setting in Kaewkao’ s Fantasy novels. The setting in Kaewkao’s Fantasy helps to convey two main ideas about Buddhism: the suffering caused by human passion such as lust, greed, hatred and delusion, and KARMA. The result of study shows that Kaewkao uses setting to support the Buddhism theme in 2 ways: firstly, settings is the symbols of passion or suffering and ,secondly, setting is the Buddhism symbol. Kaewkao usually uses same style of setting to indicate the Buddhism theme. Some fantasy novels are named by after their settings that. This demonstrates that settings is the an important element to convey the theme.

Keyword : setting, fantasy novel, interpretation in Buddhism

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา วงษ์รักษ์. (2542). วิเคราะห์ความเชื่อที่ปรากฏในนวนิยายเหนือธรรมชาติของ “แก้วเก่า” ระหว่างปีพ.ศ.2531-2536. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยนเรศวร.

กอบกุล อิงคะนนท์. [ม.ป.ป.] ศัพท์วรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อรฉัตร.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2522). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

จีรณัทย์ วิมุตติสุข. (2550). การใช้วรรณคดีไทยและการใช้วรรณกรรมพื้นบ้านในนวนิยายของแก้วเก่า. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทยภาควิชาภาษาไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระไตรปิฏกภาษาไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ทุกข์สําหรับเห็นแต่สุขสําหรับเป็น (แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

วรรณภา ชํานาญกิจ. (2547). ชักม้าชมเมือง: กวีนิพนธ์พุทธบูชา. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 21, 97-136.

วินิตา ดิถียนต์. (2525). นางทิพย์เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

_______. (2527). มนตราเล่ม 1-2. กรุงเทพฯ: รวมสาสน์.

_______. (2541). ดอกแก้วการะบุหนิง. กรุงเทพฯ: ศรีสารา.

_______. (2544). นาคราช. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี.

_______. (2544). เรือนนพเก้า. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี.

_______. (2546). แก้วราหู. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี.

_______. (2547). แต่ปางก่อน. กรุงเทพฯ : เพื่อนดี.

_______. (2547). เรือนมยุรา. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี.

_______. (2547). อมตะ. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี.

ศนิชา แก้วเสถียร. (2546). การใช้วิทยาศาสตร์ ในนวนิยายของแก้วเก่า. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทยภาควิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

สะอาด รอดคง. (2533). วิเคราะห์นวนิยายเหนือธรรมชาติของแก้วเก่า. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยนเรศวร.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2547). จินตนิยายของแก้วเก่า: หลากรสหลายลีลา. ในวรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพรินท์.