ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เพราะเป็นแหล่งผลิตหลักและมีการเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันความต้องการยางพาราของตลาดโลกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศจีนมีความต้องการยางพาราสูงขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนา Supply Chain และ Value Chain ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือของประเทศไทยและเพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถนำไปใช้วัดประสิทธิภาพและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพราะภาคเหนือเป็นพื้นที่ปลูกยางใหม่ และอยู่ในช่วงเริ่มต้นของอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำในห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้งสนับสนุนยุทธศาสตร์ การพัฒนาอุตสาหกรรมยางและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางที่ได้มาตรฐานสากล การศึกษาวิจัยเริ่มจาก การสำรวจการปลูกยางพารา พื้นที่ปลูกยางพารา และผลพลอยได้ของเกษตรกรในอุตสาหกรรมต้นน้ำในอุตสาหกรรมกลางน้ำศึกษาสำรวจการแปรรูปยางเบื้องต้น อุตสาหกรรมน้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมไม้ยางพารา ระบบโลจิสติกส์ยางพารา นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่ายางพารา การสัมมนา เผยแพร่ความรู้และรับฟังข้อเสนอแนะปัญหาอุปสรรคการพัฒนาระบบ Supply chain ของ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง และการนำเสนอรูปแบบการพัฒนา Supply chain และ Value chain ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือของไทย โดยมุ่งการพัฒนา สหกรณ์เกษตรกรสวนยางพารา ตลาดกลางยางพาราในภาคเหนือ ผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้น และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา ในภาพรวม ในปี 2550 ปริมาณการผลิตยางพาราทั่วโลกสูงถึง 9.801 ล้านตัน โดยมีประเทศไทยเป็นผู้ผลิต รายใหญ่ที่สุด 3.056 ล้านตัน ส่งออกยางพาราสูงสุดของโลกจำนวน 2.704 ล้านตัน โดยส่งออกให้ประเทศจีนมากที่สุดจำนวน 0.827 ล้านตัน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา 15.362 ล้านไร่ ข้อมูลในปี 2551 ระบุว่า ไทยยังเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งที่ 3.090 ล้านตันจากยอดการผลิตของโลก ที่เพิ่มขึ้นถึง 10.031 ล้านตัน ส่งออกรายใหญ่ที่สุดที่ 2.675 ล้านตันและส่งออกให้จีนสูงสุดที่ 0.825 ล้านตัน พื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มเป็น 16.890 ล้านไร่ พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็นผลจากนโยบายรัฐบาลไทย ส่งเสริมการปลูกยางพาราในช่วงปี 2547-2549 จำนวน 1,000,000 ไร่ โดยปลูกในภาคเหนือ ร้อยละ 30 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 70 พันธุ์ยาง RRIM 600 เป็นที่ นิ ยมในภาคเหนื อเพราะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณน้ำยางสูงถึง 250-280 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี โดยเกษตรกร ใช้ระบบกรีดครึ่งต้น 2 วันเว้น 1 วัน ผลจากการสัมมนาส่วนใหญ่เกษตรกรชาวสวนยางต้องการให้ตั้งโรงงานรับซื้อน้ำยางในจังหวัดเชียงราย การอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ด้านสวนยางและการกรีดยาง ที่เพียงพอ การจัดหาพันธุ์ยางที่ดีมีคุณภาพจากรัฐและแผนการพัฒนาการแปรรูปยางพาราตามความต้องการของตลาด
คำสำคัญ: ห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมยาง ผลิตภัณฑ์ยาง ภาคเหนือของไทย
Abstract
Natural rubber is a highly important product in the agricultural and industrial sectors of the ASEAN countries’ economy as ASEAN is the major sources, with continuing strong growth rate, of world production of natural rubber. The world demand of natural rubber continues at the consistently high pace, especially China’s demand of natural rubber grew almost double in the past 10 years. This descriptive research is aimed at the development of supply chain and value chain of rubber industry and rubber products in Northern Thailand and the Northern rubber farmers and manufacturers throughout the whole supply chain on the sustainable manner, as Northern Thailand is the new rubber planting areas and in the early stage of upstream and mid-stream supply chain developments, in addition to promoting the strategies of raising the rubber industry and rubber products standards, to the international level. This research study focuses on the survey of rubber cultivation, rubber planting area, and the extra income to the rubber farmers in the upstream rubber supply chain. In the mid-stream supply chain, the study discusses the basic rubber sheets and STR rubber production, concentrated latex and rubber products industry, rubber-wood industry, rubber industry logistics system, innovations and value chain in rubber industry and rubber products, seminar on knowledge management and related problems of supply chain system developments in rubber industry and rubber products, and proposal on key development programs of supply chain and value chain systems for rubber industry and rubber products in Northern Thailand, with the suggestions to create rubber farmers co-operatives, Northern rubber products trading markets, rubber products for automobile industry, rubber products for construction industry, rubber products from concentrated latex, and rubber-wood products. In total, in 2550, the world production of natural rubber was at 9.801 million tons, with Thailand as the largest producer at 3.056 million tons, the biggest rubber exporter at 2.704 million tons, and the highest-ranked exporter to China at 0.827 million tons. Thailand’s rubber planting area was at 15.362 million rais. Thailand registered continued satisfactory growth in 2551, with Thailand as the largest producer at 3.090 million tons of the increased total world production of 10.031 million tons, as the top-ranked exporter at 2.675 million tons, and as the biggest exporter to China at 0.825 million tons. Thailand’s rubber planting area was up at 16.890 million rais. Strong growth in the planting area was due to Thai government policy on new planting area of 1,000,000 rais (160,000 ha.) during 2547-2549, with 30 percent of new planting area in the Northern provinces and 70 percent in the North-Eastern provinces. The most popular rubber seedlings type is RRIM 600 due to its high latex yield of 250-280 kilograms per rai per annum. The rubber trees are mostly tapped on the double cut tapping or the 2 days out of 3 (d1 2d/3) tapping system. The results from the seminar showed that the rubber farmers request the concentrated latex plant to be set up in Chiang Rai, proper trainings on rubber tapping methods and plantations, quality and high-latex-yield rubber clones, and rubber products development plan in response to customers’ needs.
Keywords: Supply Chain, Rubber Industry, Rubber Products, Northern Thailand
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
จรินทร์ การะนัด สมศักดิ์ กาณจนมูสิก และอมรศักดิ์ จู้ทิ่น. (2539). ทดสอบการควบคุมวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการเลี้ยงแกะในเขตภาคใต้ตอนบน (รายงานผลการวิจัยยางพารา, ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี).กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.
จักรี เลื่อนราม สุรศักดิ์ สุทธิสงค์ กฤษณา คงศิลป์ พรรษา อดุลยธรรม และหรรษา อเนกชัย. (2537). การศึกษาสำรวจศักยภาพการผลิตน้ำยางข้นของประเทศ (รายงานผลการวิจัยยางพารา). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.
ชัชมณฑ์ แดงกนิษฐ์ และนุชนาฎ ณ ระนอง. (2543). การใช้สารเคมีรักษาสภาพน้ำยางสด เพื่อลดปริมาณไนโตรซามีน (รายงานผลการวิจัยยางพารา). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.
บุญอาจ กฤษณทรัพย์ และสมเกียรติ ทองรักษ์. (2536). การศึกษาสภาพการบำรุงรักษาสวนยางปลูกใหม่ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา(รายงานผลการวิจัยยางพารา, ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.
ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ กุลเชษฐ์ เพียรทอง พิสิษฐ์ เตชะรุ่งไพศาล ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ และอิทธิพล วรพันธ์. (2550). การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดยางพาราโดยวิธี กรด-เอสเตอร์ริฟิเคชั่นและด่าง-ทรานเอสเตอร์ริฟิเคชั่น. การประชุมเชิงวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3, โรงแรมใบหยกสกาย กรุงเทพฯ 23-25 พฤษภาคม 2550.
พรรษา อดุลยธรรม กฤษณา คงศิลป์ หรรษา เอนกชัย จักรี เลื่อนราม และปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. (2541). ศึกษาสมบัติทางเทคนิคยางแผ่นดิบคุณภาพชั้นต่างๆ จากตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ (รายงานผลการวิจัยยางพารา).กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (2541). กิจกรรมศึกษารูปแบบการพัฒนา Supply Chain ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ปีงบประมาณ 2551. รายงานสรุปผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์เสนอสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
วิรัชญา จันพายเพ็ชร และดวงพรรณ กริชชาญชัย. (2552). การออกแบบระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกเส้นทางสำหรับการส่งออกยางพาราของประเทศไทย. การประชุม สัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 9 (Thai VCML 2009), 19-21 พฤศจิกายน 2552.
สมมาตร แสงประดับ สมพร กฤษณะทรัพย์ และขจร รอดแก้ว. (2536). เศรษฐกิจการปลูกพืชแซมยางในสวนยางปลูกแทนขนาดเล็ก ในเขตภาคใต้ตอนบน (รายงานผลการวิจัยยางพารา, ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.
สถาบันวิจัยยาง. (2553). ข้อมูลวิชาการยางพารา. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุธี อินทรสกุล เพื่อม วุ่นชิ้ว สมเกียรติ ทองรักษ์ เสมอ สมนาค สมบัติ พิงกุศล และอรัญ แจ้งชัด. (2536). ความสัมพันธ์ของต้นทุนการผลิตและการกำหนดราคายางแผ่นรมควันชั้นต่างๆ ของโรงงานภาคตะวันออก (รายงานผลการวิจัยยางพารา, ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.
Association of Natural Rubber Producing Countries (ANRPC). (2010). Global NR supply likely to remain tight. The Joint Presentation at The Annual Rubber Conference 2010 organized by ANRPC in Kochi, India, published in Rubber Asia, November-December 2010, pp. 75-80
Jitjan, Suwat, Ieamvijarn, Subunn and Rittidech, Prasopsuk. (2009). Internal migration and development of labor for rubber plant growing in Isan for community economic development. European Journal of Social Sciences, 11(3): 441-452.
Ouseph, Thomas. (2010). Asia’s leads, erratic supply makes market frenetic. Rubber Asia Margma Special 2010, pp. 59-62.
Smit, Hdde and Thi Thuy Hoa, Tran. (2011). NR production in Vietnam: Prospects are extremely bright. Rubber Asia, January-February 2011, pp. 28-32.
Thailand. Department of Agriculture. Rubber Research Institute. (2010). Thailand Rubber Statistics, Volume 39, No. 3. Bangkok: Rubber Research Institute, Department of Agriculture.