การพัฒนารูปแบบจิตสำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์การรักษาความปลอดภัย: กรณีศึกษาสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

Main Article Content

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบจิตสำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์การรักษา ความปลอดภัย: กรณีศึกษาสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน จากการทำวิจัย เชิงคุณภาพ และวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบจิตสำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัยสำหรับสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน การรักษาความปลอดภัย การสัมภาษณ์บุคลากรทางด้านการรักษาความปลอดภัยทั้งภายในภายนอก สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และการเก็บรวมรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิจากบุคลากรภายใน สำนักข่าวกรองแห่งชาติจำนวน 210 คน โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เนื้อหา หาความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า จิตสำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย หมายถึง “ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลที่มีต่อความสำคัญทางด้านการรักษา ความปลอดภัยที่ครอบคลุมเรื่องบุคคล เอกสาร สถานที่ ถูกสั่งสมมาจากการถ่ายทอด การเรียนรู้ การฝึกอบรม และประสบการณ์ เพื่อดำเนินการในการป้องกันหรือรับมือจากสถานการณ์ที่เป็นภยันตรายได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ” สำหรับองค์ประกอบในการพัฒนาจิตสำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยมีทั้งหมด 10 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การรักษาความปลอดภัย การสร้างความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย บทบาทผู้นำต่อการ พัฒนาจิตสำนึกในการรักษาความปลอดภัย การสร้างความผูกพันเพื่อการอยู่ร่วมกันของบุคลากรในองค์การ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน การนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้การสร้างสถานการณ์จำลองที่เป็นวิกฤติ และการสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรเพื่อการสร้างจิตสำนึก โดยองค์ประกอบทั้งหมดถูกนำมาพัฒนารูปแบบการสร้างจิตสำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย และถูกกำหนดชื่อว่า “Chaiyaset’s Security Awareness Model”

คำสำคัญ: จิตสำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย การบริหาร การรักษาความปลอดภัย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

 

Abstract

The main objective of this research was to develop the security awareness model for National Intelligence Agency (NIA). This study was used the mixed research methodology including both qualitative and quantitative methods to gathering data from the key informants and samples. The key informants were purposively selected from the experts in a security field from both internal and external National Intelligence Agency. A 52-item questionnaire was distributed to a sample of 210 employees working at National Intelligence Agency by using stratified sampling technique. Data were analyzed by using content analysis, the matrix analysis, and exploratory factor analysis methods. The results of this study found that security awareness was defined as “Individual thought and feeling to the importance of security aspects of personnel, information, and physical that has been accumulated from teaching, learning, training, and acquired experience in order to be able to prevent or handle the harmful situations automatically.” For the security awareness factors, this study explored that there were ten important security awareness factors including Security Activity, Knowledge Development, Leader Roles, Commitment, Performance Appraisal, Public Relations, Environmental Improvement, Information System Implementation, (Crisis) Simulation, and Motivation. Thereafter analysis of these ten factors, the model was developed and named as “Chaiyaset’s Security Awareness Model.” Recommendations for findings implementation to support security awareness development in National Intelligence Agency were also discussed.

Keywords: Security Awareness, Administration, Security, National Intelligence Agency

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ์. (2549). ความรู้พื้นฐานเรื่องการรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Burns, R. (1990). Introduction to research methods. Melbourne: Longman Chesire.

Cisco. (2007). Cisco security awareness: Creating an effective security culture through awareness.Retrieved July, 20, 2010, from Cisco Systems, Inc. Website : http://www.cisco.com/web/about/security/cspo/docs/SecurityAwarenessProgram.pdf

Demkin, J. A. (2003). Security planning and design: a guide for architects and buiding design professionals. Hoboken, NJ: John Wiley.

Fay, J. J. (2006). Contemporary security management. 2nd ed. Burlington, MA: Elsevier Butterworth-Heinemann.

Ficher, R. J., Halibozek, E., & Green, G. (2008). Introduction to security. 8th ed. Burlington, MA: Elsevier Butterworth-Heinemann.

Ortmeier, P.J. (2009). Introduction to security: Operations and management. 3rd ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Pallant, J. (2001). SPSS survival manual: A step-by-step guide to data analysis. Buckingham: Open University Press.

Roper, C. A., Grau, J. A., & Fischer, L. F. (2005).Security education awareness, and training: From theory to practice. Burlington, MA: Elsevier Butterworth-Heinemann.

Sennewald, C. A. (2003). Effective security management. 3rd ed.Burlington, MA: Elsevier Butterworth-Heinemann.

Wiersma, W. (1991). Research methods in edu-cation. 5th ed. Sydney: Allyn and Bacon.

Wulgaert, T. (2005). Security awareness: Best practices to serve your enterprise. Rolling Meadows, IL: Information System Audit and Control Association.