การกระทำทางสังคมในฐานะวิถีแห่งการสร้างการยอมรับ: บทสำรวจแนวคิดทางสังคมวิทยา

Main Article Content

สาคร สมเสริฐ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “การกระทำทางสังคมในฐานะวิถีแห่งการสร้างการยอมรับ: บทสำรวจแนวคิดทางสังคมวิทยา” นี้เป็นการสำรวจแนวคิดทางสังคมวิทยาที่อธิบายการกระทำทางสังคมในฐานะที่เป็นหนทางสู่การยอมรับของสังคมโดยใช้แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา ได้แก่ ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม แนวคิดว่าด้วยตัวตน การวิเคราะห์เชิงละคร อัตลักษณ์ และฮาบิตุส

แนวคิดทางสังคมวิทยาที่ช่วยอธิบายการกระทำทางสังคมในฐานะวิถีแห่งการสร้างการยอมรับนั้นมี 3 แนวคิด คือ  1. การกระทำทางสังคมที่เน้นโครงสร้างเป็นตัวกำหนด ซึ่งเป็นการกระทำทางสังคมตามบรรทัดฐานและบทบาทหน้าที่ของสังคม  2. การกระทำทางสังคมที่เน้นผู้กระทำการเป็นตัวกำหนด ซึ่งเป็นการกระทำทางสังคมที่มนุษย์พยายามแสดงตัวตนให้สอดคล้องกับผลสะท้อนของผู้อื่นในขณะปฏิสัมพันธ์กัน รวมทั้งการที่มนุษย์เปิดกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเสียงสะท้อนของผู้อื่นเพื่อปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
3. การกระทำทางสังคมที่โครงสร้างและผู้กระทำการกำหนดร่วมกัน ซึ่งเป็นการกระทำทางสังคมที่มนุษย์แต่ละคนรับรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามบริบทว่าตัวเองเป็นใคร คนอื่นเป็นใคร และคนอื่นรับรู้เกี่ยวกับตัวเราอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นการกระทำทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับฮาบิตุส  ได้แก่ การยอมรับ   ฮาบิตุสชนชั้นสังคมตัวเอง การพยายามปรับปรุงและพัฒนาฮาบิตุสของชนชั้นสังคมตัวเองให้ดีขึ้น และการเลียนแบบฮาบิตุสของชนชั้นสังคมอื่น

คำสำคัญ : การกระทำทางสังคม, การยอมรับของสังคม, ตัวตน, อัตลักษณ์, ฮาบิตุส

 

Abstract

This article describes the correlation between social action and social recognition. The paper tries to explain Social Action as A Means to Mutual Recognition: A Sociological Perspective. by using sociological concept deriving from structural-functional theory, self, dramaturgy, identity and habitus.

The study shows that social action which leads to social acceptance can be illustrated in three main categories; 1. Social action emphasizing on the social construction which perform by norms and social role 2.Social action emphasizing on agency as active and creative actors  3. Social action resulted from the combination of structure and agency. Each individual perceives their role in any situation properly by means of who they are and what they should do. In addition, social action relates to the habitus theory which means the individual performances constraint by habitus of their own social class. Human and to imitate the habitus of other social classes.

Keyword : social action, social recognition, structural functionalism, self, identity, habitus

Article Details

บท
บทความวิชาการ