กลยุทธ์การตลาดการค้าปลีกสำหรับธุรกิจร้านยาของประเทศไทย

Main Article Content

พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล
ศรีีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล
ทิพย์พาพร มหาสินไพรศาล
ศุภฤกษ์ อาจราชกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการร้านยาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าและบริการจากร้านยา จำนวน 12 คน อายุระหว่าง 28 - 40 ปี โดยใช้กรอบแนวคิดส่วนประสมการตลาดค้าปลีก (Retail Marketing Mix) ได้แก่ สินค้า ราคา สถานที่ การส่งเสริมการขาย การบริการ และบุคลากร

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าร้านยาที่น่าเชื่อถือ มีเภสัชกรที่ให้คำแนะนำ พนักงานให้บริการด้วยความรวดเร็วและจริงใจ ร้านยามีที่จอดรถได้อย่างสะดวก และมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจ รูปแบบร้านยาที่ผู้บริโภคต้องการ เช่น ร้านยาถูกสุขลักษณะ สะอาด มีแสงสว่างเพียงพอ เภสัชกรมีคุณภาพ สินค้ามีราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ร้านมีสีขาวหรือฟ้าอ่อน และมีระบบบริหารร้านยาที่สามารถเรียกดูประวัติการซื้อสินค้าของลูกค้า และให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา สำหรับกลยุทธ์การตลาดค้าปลีกธุรกิจร้านยา ได้นำแนวคิด SAVEQ มาประยุกต์เป็นแนวทางในการบริหารจัดการ

This study is a survey research aimed to study drugstore behaviors and needs of consumers in Bangkok. In-depth Interview of 12 consumers, aged between 28 and 40, who had bought medicine and services from drugstores, was used in this research. The concept of Retail Marketing Mix was applied including Product, Price, Location, Promotion, Services, and People.

The result showed that consumers would purchase products from trustworthy drugstores with guiding pharmacists, responsive and sincere staffs, convenient parking lot, and interesting promotion. A model of drugstores consumers need should be hygienic, clean, bright, having qualified pharmacists and reasonable price goods, in white or light blue color, installing management system that can retrieve customer's purchasing record, and providing information of medicine. For retail marketing strategies of drugstore business, SAVEQ approach has been applied for a guideline of management.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมธุรกิจพัฒนา กระทรวงพาณิชย์. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง “การค้าปลีกเพื่อการพัฒนา” เป็นการวิจัยเชิงสํารวจเฉพาะสามธุรกิจค้าปลีกคือ ร้านขายยา ร้านขายวัสดุก่อสร้าง และร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรหน้า 18-22 สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2555, จาก http://www.dbd.go.th

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2555). “ทุนไทย-เทศรุมชิงร้านขายยา รายเล็กปรับตัวเพิ่มวาไรตี้สินค้า” สืบค้นเมื่อ

ธันวาคม 2555, จาก http://www.prachachat.net.

Kotler, Phillip. (1997). Marketing Management. New Jersey: Prentice Hall.