บทวิจารณ์หนังสือ

Main Article Content

โดม ไกรปกรณ์

บทคัดย่อ

โยโกยาม่า ยาสุกิ. วิถีแห่งโนบิตะ ชัยชนะของคนไม่เอาถ่าน. ศมณ สุวรรณรัตน์ (แปล). กรุงเทพฯ:สยามอินเตอร์บุ๊คส์, 2549.

โยโกยาม่า ยาสุกิ. วิถีแห่งโดราเอมอน ฝึกสอนคนขี้แพ้ให้เป็นผู้ชนะ. โชว์เดียร์ (แปล) . กรุงเทพฯ:สยามอินเตอร์บุ๊คส์, 2552.

วิถีแห่งโนบิตะ ชัยชนะของคนไม่เอาถ่าน และ วิถีแห่งโดราเอมอน ฝึกสอนคนขี้แพ้ให้เป็นผู้ชนะ ของ โยโกยาม่า ยาสุกิ เป็นหนังสือที่น่าสนใจตั้งแต่ชื่อเรื่องและภาพปก สำหรับคนที่เคยอ่านหนังสือการ์ตูนและเคยดูภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “โดราเอมอน” ทั้งทางโทรทัศน์และภาพยนตร์ คงนึกถึงตัวการ์ตูนอย่าง โดราเอมอน  โนบิตะ  ชิซูกะ  ไจแอนท์  ซูเนโอะ  ฯลฯ และความสนุกเพลิดเพลิน รวมทั้งแง่คิดที่ได้จากภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ที่น่าสนใจสำหรับเราชาวไทย คือ โยโกยาม่า ยาสุกิ อาจารย์มหาวิทยาลัยฟุคุยามา ประเทศญี่ปุ่นไม่เพียงแต่อ่านและดูการ์ตูน “โดราเอมอน” อย่างที่เราหลายคนทำ แต่เขาได้ทำวิจัยระดับปริญญาเอกเรื่อง “โดราเอมอนศึกษา” ที่มหาวิทยาลัยฟุคุยามา และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วเขาได้สอนวิชาโดราเอม่อนศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้น จากงานวิจัยระดับปริญญาเอก  ยาสุกิ ได้นำผลงานวิจัยของเขามาจัดทำเป็นหนังสือ 2 เล่มที่ผู้วิจารณ์จะหยิบยกมาแนะนำกึ่งวิจารณ์ในที่นี้ โดยภาพรวมแล้วหนังสือ วิถีแห่งโนบิตะ ชัยชนะของคนไม่เอาถ่าน คือ หนังสือที่ให้แง่มุมในการใช้ชีวิตโดยใช้เรื่องของโนบิตะซึ่งเป็นตัวละครที่เป็นตัวแทนของ “คนไม่เอาถ่าน” มาวิเคราะห์ให้เห็นว่า คนที่ดูไม่เอาไหนสักเรื่องอย่างโนบิตะสามารถทำฝันของตน คือ การได้แต่งงานกับชิซูกะให้เป็นจริงได้ด้วยหลักการที่ไม่ซับซ้อน

Article Details

บท
บทวิจารณ์หนังสือ

References

โบโน, เอ็ดเวิร์ด เดอ. 2545. หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ. สุดตระการ ธนโกเศศ และคณะ (แปล),พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ชานชาลา

ฟริเบียร์, เบนท์. 2546. ฟื้นสังคมศาสตร์: ทําไมการวิจัยทางสังคมจึงล้มเหลวและจะทําให้ ประสบความสําเร็จได้อย่างไร?. อรทัย อาจอํา (แปล) นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2546

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. 2546. ทุนวัฒนธรรมวัฒนธรรมในระบบทุนนิยมโลก เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: มติชน