ผลของปัจจัยทางด้านผู้เรียนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิดต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาหลักการบัญชีในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาหลักการบัญชีในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ครอบคลุมกระบวนการจัดการเรียนการสอนและปัจจัยทางด้านผู้เรียน ใช้แบบสอบถามปลายปิดเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน จัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด ทำแบบทดสอบก่อนเรียน กลางภาคและปลายภาค และหลังสอบปลายภาคใช้แบบสอบถามปลายเปิดสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ Student t-test และ ANOVA วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ content analysis ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 47 คน อายุเฉลี่ย 19.3 ปี สำเร็จ ปวช. ร้อยละ 74.5และสำเร็จ ม.6 ร้อยละ 25.5 เกรดเฉลี่ยสะสมก่อนเรียนเฉลี่ย 2.92 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้จากการสอบ 3 ครั้ง พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดยลำดับและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.0001) ปัจจัยทางด้านผู้เรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสมก่อนเรียน สาขาวิชาที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษามาก่อน และความสามารถการสืบค้นข้อมูล ผลการวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นกระบวนการคิดพบว่า สื่อการสอนและกิจกรรมต่อไปนี้ ได้แก่ การสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต แบบฝึกหัดและเฉลย การทบทวน และการทำงานคู่กับการเรียน มีส่วนช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์ สนุกสนานและสนใจการเรียนรู้มากขึ้น การวัดผลและการประเมินความก้าวหน้าช่วยให้มีกำลังใจในการเรียนรู้ และการประเมินรวบยอดทำให้เกิดการประมวลความรู้อย่างบูรณาการ
คำสำคัญ : การเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด, การเรียนรู้บนพื้นฐานของการทำงาน, การวัดและการประเมินความก้าวหน้า, การประเมินรวบยอด
Abstract
This research studied the factors affecting learning results of Principles of Accounting in the First Year Students at Panyapiwat Institute of Technology (PIT), including teaching and learning processes and learners’ factors. A close-ended questionnaire was applied in the study to collect demographic data, Thinking-Based Instruction for teaching and learning, results of the three tests (including pre-test, midterm test, and final test) for summative evaluation, while an open-ended questionnaire was used for collecting qualitative information after the final test. Furthermore, student’s t-test and ANOVA techniques were used for analyzing quantitative data, and content analysis for qualitative data. Research results revealed that 47 participants with an average age of 19.3 years old, 74.5% of them graduated from vocational schools and the rest, 25.5%, finished high school level with an overall mean GPA (obtained before the course) of 2.92. A comparison of learning results from the three tests revealed progressively increasing scores with significant differences (p < 0.0001). Learner’s factors affecting learning results were GPA obtained prior to the course, types of school undertaken before entering PIT, and computer searching skill. Qualitative data analysis regarding Thinking-Based Instruction revealed that teaching materials and other relevant activities including Internet searching, exercises and answers given for the exercises, and Work-Based Learning played parts in stimulating students to think, analyze, enjoy, and pay more attention to their learning. Thus, the formative evaluation encouraged students to learn and summative evaluation resulted in integrative knowledge processing.
Keywords : Thinking-Based Instruction, Work-Based Learning, Formative evaluation, Summative evaluation
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๔๕. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
เสนีย์ (อํ่าเจริญ) พวงยาณี. (2551). หลักการบัญชี. กรุงเทพฯ: บริษัททริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่นจํากัด.อังคณานุตยกุล. 2545. ปัจจัยที่สังต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีของนักศึกษาภาคปกติแขนงวิชาบัญชีโปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจคณะวิทยาการจัดการสถาบันราชภัฏสวนดุสิต ปีการศึกษา 2544. (งานวิจัย): สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
Carroll, J. B. (1974). Learning Theory for the Classroom Teacher. In G. A. Jarvis (Ed.), The Challenge of Communication. ACTFL Review of Foreign Language Education, Vol. 6. Illinois: National Textbook Company.
Ewer, S., Greer, O., Bridges, W., & Lewis, B. (2002). Class length and student performance: An extended study. International Advances in Economic Research, 8(2), 160-168.
Rael in, J. A. (1997). A model of work-based learning. Organization Science, 8(6), 563-578.
Tho, L. M. (1994). Some evidence on the determinants of student performance in the University of Malaya introductory accounting course Accounting Education, 3(4), 331-340.
Weyg andt, J. J., Kieso, D. E., & Kimmel, P. D. (2007). Financial Accounting: Tools for Business Decision Making (4th Edition ed.): Wiley Plus.