แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Main Article Content

นพมาศ ปลัดกอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกระหว่าง นักศึกษากลุ่มสมัครเรียนและนักศึกษากลุ่มพนักงาน ในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 402 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย โดยรวมพบว่านักศึกษากลุ่มสมัครเรียนและนักศึกษากลุ่มพนักงานมีแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อไม่แตกต่างกัน แต่ผลการทดสอบเปรียบเทียบแรงจูงใจภายใน พบว่า นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีแรงจูงใจ ภายในด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยนักศึกษากลุ่มพนักงานมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มากกว่ากลุ่มสมัครเรียน และผลการทดสอบเปรียบเทียบแรงจูงใจภายนอก พบว่า ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเฉพาะการเลือกเรียนที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เพราะบริษัทมีทุนการศึกษาให้

คำสำคัญ: แรงจูงใจ นักศึกษากลุ่มสมัครเรียน นักศึกษากลุ่มพนักงาน การศึกษาต่อระดับปริญญาตรี

 

Abstract

This research aims to (1) study the motivations in choosing to continue their bachelor degree at Panyapiwat Institute of Technology and (2) compare the internal and external motivations of walk-in students and employee students in choosing to continue their bachelor degree at Panyapiwat Institute of Technology. The sampling group consists of 402 people, obtained by using process of random. Statistics used in analyzing data are percentage, average, and standard deviation. Analyzing average differentiation used t-test and analyzing one way variation. The research found that both the walk-in students and the employee students had similar motivations in choosing to continue their bachelor degree. However, the comparative test of internal motivations discovered that the groups of students had different achievement motivations at statistically significant 0.05 with the group of employee students had greater achievement motivations. Additionally, the comparative test of external motivation found that the factor on tuition expense varied at statistically significant 0.05, especially at Panyapiwat Institute of Technology, because the institute offers scholarship.

Keywords: Motivations, Walk–in Students, Employee Students, Continuing Their Bachelor Degree

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญกมญ เถื่อนเหมือน. (2551). ปัจจัยจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยศรีปทุม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 8(1), 5-12.

ประลัดดา ไถ้เงิน. (2550). แรงจูงใจของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาอื่นต่อการศึกษาโครงการนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์. ปริญญานิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณี ชูทัย เจนจิต. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ: บริษัท เมธีทิปส์ จำกัด.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2530). การศึกษา: เครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

ลาวัลย์ เบญจศีล. (2549). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2547.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ และทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม. (2551). แรงจูงใจในงานที่มีผลต่อความผูกพันในงานของอาสาสมัครสาธารณสุข. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 19(2), 59-74.

วิภา อร่ามรุ่งโรจน์ชัย. (2543). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. (2553). คู่มือนักศึกษา ปีการศึกษา 2553. นนทบุรี: สถาบันฯ.

สมพิศ อยู่สุขสวัสดิ์. (2548). ศึกษาแรงจูงใจต่อการเข้าศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สมลักษณ์ ลันสุชีพ. (2545). แรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล.ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิน พันธุ์พินิจ. (2549). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพินทร์ ชูชม และอัจฉรา สุขารมณ์. (2543). การวัดความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแรงจูงใจภายใน: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจภายใน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหม เอดดูเคท.

Houle, O. C. (1961). The inquiringmind. Madison, WI: University of Wisconsin Press.

Ryan, R.M., and Deci, E.L. (2000). Intrinsic and extrinsic motivation: Classic definitions and new direction.Contemporary Educational Psychology, 25, 54-67.