ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

วิเชียร วิทยอุดม
เขมมารี รักษ์ชูชีพ
จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์
อิศราภรณ์ เทียมศร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 25,388 คน ขนาดของตัวอย่าง 394 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยจำนวนหน่วยตัวอย่างเป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากร ใช้คณะที่นักศึกษาสังกัด เป็นชั้นภูมิ การสุ่มตัวอย่างจากแต่ละชั้นภูมิใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นหญิง ส่วนมากเป็นนักศึกษา สังกัดคณะบริหารธุรกิจ กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 ส่วนมากมีระดับผลการศึกษาเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.50-2.99 ในภาพรวมนักศึกษามีระดับขององค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านความสามารถภายในตน ด้านทักษะความเก่งคน ด้านความสามารถในการปรับตัว และด้านกลยุทธ์ในการบริหารความเครียดระดับปานกลาง ส่วนด้านการจูงใจตนเองและสภาวะทางอารมณ์อยู่ในระดับสูง ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยนักศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์ระดับบุคคลในระดับสูง และมีความฉลาดทางอารมณ์ระดับสังคมในระดับสูง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา ได้แก่ ความสามารถภายในตน ทักษะความเก่งคน ความสามารถในการ ปรับตัว กลยุทธ์ในการบริหารความเครียด การจูงใจตนเองและสภาวะทางอารมณ์ โดยปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษามากที่สุด ได้แก่ การจูงใจตนเองและสภาวะทาง อารมณ์ รองลงมาคือ ความสามารถในการปรับตัว ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความฉลาด ทางอารมณ์ของนักศึกษา ได้แก่ การที่นักศึกษาไม่ทราบว่าควรปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่างๆ อย่างไร การที่นักศึกษาไม่สามารถควบคุมอารมณ์และการแสดงออกทางอารมณ์ของตนเองได้ เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ เข้ามากระทบ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยได้แก่ การจัดกิจกรรมในการพัฒนา ความฉลาดทางอารณ์ให้แก่นักศึกษา ทั้งกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมทางศาสนาโดยจัดควบคู่กันไป มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีนักจิตวิทยาเพื่อให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่มีปัญหา รวมทั้งควรบรรจุเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ในหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้เรียนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

Abstract

The objectives of this study are to 1) study emotional quotient of students from Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2) study factors influencing emotional quotient developments of these students, and 3) study problems and obstacles of their emotional quotient developments. This is a survey research, where total populations of 25,388 students are students from all faculties of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. This study utilizes two-stage sampling: stratified random sampling on proportion of students in each faculty and simple random sampling of students in each faculty, with 394 samples for this research. Questionnaires are utilized for data collection. The descriptive and inferential statistics of frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation and multiple regression are utilized for the data analysis purpose. Findings indicate the following characteristics: Majority of students are female, first year students at Faculty of Business Administration, and average grade point at 2.50-2.99. Overall EQ level of student is on the average level. In the areas of individual EQ levels of inner self EQ, relationship ability, adaptability, and stress management strategy are on the average level. In the areas of individual EQ levels of self motivation and emotional status are on the high level. Factors affecting student EQ are inner-self EQ, relationship ability, adaptability, stress management strategy, self motivation, and emotion status. Factors influencing students EQ the most are self motivation and emotional status; while the second is adaptation ability.

Problems and obstacles in EQ development are: students not knowing how to behave in various situations and students not being able to control EQ when facing certain serious situations. Suggestions from this research are that university may organize some EQ development activities on both social and religious activities, and that university may employ psychologist to counsel students with problems, or may consider including this EQ development and control subjects in the curriculum in order that students could use knowledge gained from the subjects for the benefit of daily life and working efficiency.

Keywords: Emotional Quotient, Rajamangala University of Technology Thanyaburi

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการจัดหางาน. (2540). รายงานการวิจัยภาวการณ์มีงานทำและการทำงาน. กรุงเทพฯ: กรมฯ.

กรมสุขภาพจิต. (2543). สุขภาพจิตดีด้วยอีคิว. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2543.

กรมสุขภาพจิต. (2549). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์ ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

ฉัฐภูมิ วัฒนศิริพงศ์. (2537). ความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ. ภาคนิพนธ์โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เทอดศักดิ์ เดชคง. (2542). ความฉลาดทางอารมณ์.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มติชน.

เทอดศักดิ์ เดชคง. (2544). สติบำบัด. กรุงเทพฯ: มติชน.

ธงชัย ทวิชาชาติ และคณะ. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องความเครียดและสุขภาพจิตของคนไทย. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต). (2542). อีคิว ในแนวพุทธศาสนา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 5(1), 7-13.

วินัดดา ปิยะศิลป์, พญ. (ม.ป.ป.) ความฉลาดทางอารมณ์.เชียงใหม่: สมาคมนักกิจกรรมบำบัด/อาชีวบำบัดแห่งประเทศไทย คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2542). เชาวน์อารมณ์ (EQ): ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

สิปปนนท์ เกตุทัต. (2543). ก้าวมั่น ทันโลก: วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ในเอกสารประกอบการประชุมสัมมนาระดมความคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.

แสงอุษา โลจนานนท์ และกฤษณ์ รุยาพร. (2543). การบริหารอารมณ์ด้วยรอยยิ้มแบบไทยๆ. ม.ป.ท.: มิตรนราการพิมพ์.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2542). ประมวลข้อมูลสถิติที่สำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2542 (ฉบับพิเศษ). กรุงเทพฯ: กองคลังข้อมูลและสนเทศสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อัจฉรา สุขารมณ์ วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี และอรพินทร์ ชูชม. (2543). รวบบทความทางวิชาการ EQ. กรุงเทพฯ: เดสค์ท็อป.

อัจฉรา สุขารมณ์ วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี และอรพินทร์ ชูชม. (2544). รวบบทความทางวิชาการ EQ เล่ม 2 เรื่องอีคิว:จากแนวคิด...สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชมรมผู้สนใจ อีคิว.

Bar-On, Reuven. (1997). BarOn emotional quotient inventory: A measure of emotional intelligence. Toronto: Multi-Health.

Gardner, H. (1983). Frames of mind: The theory of multiple intelligences. New York: Basic Books.

Gibbs, Nancy. (1995). The EQ factor. TIME, 9 (October), 24-31.

Goleman, Daniel. (1995). Emotional Intelligence. New York: Bantam Books.

Livingston, J.S. (1971). Myths of the well-educated managers. Harvard Business Review, 49, 78-85.

Mayer. J.D & Salovey P. (1990). Imagination, cognition and personality. New York : Basic Books.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than intelligence. American Psycho-logist, 28(1), 1-14.

Yamane, Taro. (1970). Statistical an introductory analysis. 2nd ed. Tokyo: John Weatherthill.