การพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษาครอบครัวเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนอนุบาล ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย

Main Article Content

วิจิตรา สายอ๋อง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การสื่อสารที่ไม่เหมาะสมในครอบครัว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียน อนุบาลก่อตัว และเพิ่มความรุนแรงขึ้นเมื่อได้รับสิ่งยั่วยุหรือสิ่งเร้า โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ท่ามกลาง สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย การศึกษานวัตกรรมโปรแกรม การให้การปรึกษาครอบครัว เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนอนุบาล ในพื้นที่ภาคใต้ ตอนล่างของประเทศไทยจึงมีความสำคัญ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาแบบแผนการอบรม เลี้ยงดูบุตรและการสื่อสารในครอบครัว และ 2) สร้างโปรแกรมการให้การปรึกษาครอบครัว เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนอนุบาล ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้ทฤษฎี การให้การปรึกษาครอบครัวของซะเทียร์ การออกแบบวิจัยเป็นแบบผสมผสาน มีการประเมิน ประสิทธิผลของโปรแกรมทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือครอบครัวที่ บุตรอยู่ชั้นอนุบาล ช่วงอายุ 4-5 ปี ในจังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดลักษณะครอบครัว มาตรวัดการอบรมเลี้ยงดูบุตร มาตรวัด พฤติกรรมก้าวร้าวบุตร มาตรวัดพฤติกรรมก้าวร้าวนักเรียน และมาตรวัดความพึงพอใจต่อการเข้ารับ การปรึกษาครอบครัว ผลการศึกษา พบว่า 1) บิดามารดาที่มีบุตรก้าวร้าว ส่วนใหญ่อบรมเลี้ยงดูบุตรแบบควบคุม และมีการสื่อสารในครอบครัวที่ไม่เหมาะสม ทั้งด้วยภาษาถ้อยคำและภาษา ท่าทาง เช่น ดุด่า ทุบตี หรือหยิก 2) โปรแกรมที่สร้างขึ้น เป็นการบูรณาการระหว่างแบบแผน การอบรมเลี้ยงดูบุตรและการสื่อสารในครอบครัว เข้ากับกระบวนการให้การปรึกษาครอบครัว ตามทฤษฎีของซะเทียร์ และ 3) ประสิทธิผลของโปรแกรมในเชิงคุณภาพ ครอบครัวกรณีศึกษาสะท้อนว่า พฤติกรรมก้าวร้าวของบุตรทางร่างกาย และวาจาเปลี่ยนแปลงไปในทางเหมาะสมขึ้นและเชิงปริมาณ พบว่าการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวทางร่างกาย และวาจาของบุตร หลังการให้การปรึกษาครอบครัวลดลง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีการให้การปรึกษาครอบครัวของซะเทียร์ ใช้ได้ผลต่อการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนอนุบาล และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนำไปใช้ในการแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนอนุบาลได้ โดยครอบครัวมีส่วนสำคัญในการแก้ไข และพัฒนาพฤติกรรมของบุตร ทั้งนี้ ผู้ให้การปรึกษาในสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปหรือเป็นรายกรณี

คำสำคัญ: การให้การปรึกษาครอบครัวของซะเทียร์ การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

Abstract

Improper communication in the family is one reason leading to aggressive behavior in kindergarten students, and tending to be more severe when being driven by stimulus, particularly, students who are living in the insurgency areas in the lower Southern Thailand. An innovative counseling program for families is a vital way out. This research aims to 1) find out a plan for fostering children and patterns for family communication; and 2) construct a family counseling program to reduce aggressive behavior via action research applying Satir’s theory of family therapy. The research combines qualitative and quantitative techniques to evaluate the effectiveness of the program. The sample is from families with aggressive kindergarten kids, aged 4-5, in Yala and Pattani provinces. The research instruments include measurements of family characteristics, measurements of child-raising, measurements of aggressive behaviors, and measurements of counseling satisfaction. The study reveals that 1) aggressive children are raised under the control of parents and exposed to improper communication in terms of words, features and gestures, such as beating, yelling or pinching; 2) the program being constructed is the integration of a child-raising plan and the pattern of family communication with Satir’s theory of family therapy; 3) regarding the qualitative effectiveness of the program, aggressive behavior both physical and verbal has become more proper; meanwhile, regarding quantitative effectiveness, aggressive behavior physical and verbal is also declining. These confirm that Satir’s theory and the program being developed are effective; counselors in schools or other entities are advised to apply the program according to individual context or case. However, the family still plays an important role in the amendment and development of child behavior.

Keywords: Satir’s Family Counseling, Mixed Methods Research, Action Research

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2547). การทบทวนองค์ความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องระบาดวิทยาของปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กรมสุขภาพจิต. (2548). เด็กกรุงเทพฯก้าวร้าว-เรียนรู้ทางเพศเร็ว. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2552 จาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เว็บไซต์: http://www.dmh.go.th

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). สถิติตัวบ่งชี้สภาวะการณ์เด็กและเยาวชน (child watch). กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2542). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน : 3-5 ขวบ. กรุงเทพฯ: โชติสุขการพิมพ์.

ทิพย์วัลย์ สุทิน. (2539). การลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนวัยรุ่นโดยรูปแบบการปรับพฤติกรรมด้วยปัญญา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชวนา เหลืองอังกูร. (2550). การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการวิจัยโดยผู้ปฏิบัติงาน. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2550 จาก http://eclassnet.kku.ac.th

ผกา สัตยธรรม. (2552). สุขภาพจิตเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2542). การให้คำปรึกษาครอบครัวตามแนวมนุษย์นิยม. วารสารการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา, 1(2), 30-31.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2545 ). จิตวิทยาการปรับตัว.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549).จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สดใส คุ้มทรัพย์อนันต์. (2554). ครอบครัวบำบัดสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านครอบครัวและเด็ก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การวัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

สุพร ประเสริฐราชกิจ. (2541). รวมประวัติสัญลักษณ์จังหวัดและตราสถาบันต่างๆ ของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

อรพินทร์ ชูชม, อัจฉรา สุขารมณ์ และวิลาสลักษณ์ ชัววัลลี. (2542). การทดลองใช้และตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานวัดสติปัญญาทางอารมณ์ของซัทท์และคณะ. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องทฤษฎีและการวัดอีคิว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

Aronson, E., Wilson, T. D., & Akert, R. M. (2007). Social psychology. 6th ed. Garden City, NY: Prentice-Hall.

Bandura, A. (1973). Aggression: A social learning analysis. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall

Banks, T., & Dabbs, J. M. (1996). Salivary testosterone and cortisol in delinquent and violent urban subculture. Journal of Social Psychology, 136(1), 49-46.

Browne, K. D., & Hamilton-Giachritsis, C. (2005). The influence of violent media on children and adolescents: A public-health approach. Lancet, 36(5), 702-10.

Buss, A. H. & Perry, M. (1992). The aggression questionnaire. Journal of Personality and Social Psychology, 63(3), 452-459. Retrieved November 14, 2007, from http://www. atkinson. yorku.ca/~psyctest/aggress.pdf

Creswell, J. W. (2002). Educational research: Planning, conducting, and evaluating quantitative and qualitative approaches to research. Upper Saddle River, NJ: Merrill/ Pearson Education.

Creswell, J. W. (2003). Research design: Quantitative, qualitative, and mixed methods approaches. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: Sage.

David, B., & Margaret, S. (2003). Education: Entertainment and learning in the home.Philadelphia: Open University Press.

DePoy, E. Hartman, A., & Haslett, D. (1999). Critical action research: A model for social work knowing. Social Work, 44(6), 560-570.

Eron, W. L. (1993). The effects of strategy games on measures of problem solving, mathematics anxiety, and logical reasoning on selected undergraduate elementary education majors. Dissertation Abstracts International, 94(7), 79-A.

Haber, R. (2002). Virginia Satir: An integrated, Humanistic approach. Contemporary Family Therapy, 24(1), 23-34.

Hilda, L. J. (2005). Early education curriculum: A child’s connection to the world.3rd ed. Texas: Stratford Publishing Services.

Hogan, M. J. (2005). Adolescents and media violence: Sis crucial issues for practitioners. Adolescent Clinics, 42(1), 409-14.

Jarvinen, P. (2007). Action research is similar to design science. Quality & Quantity, 41(1), 37-54.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (2000). Participatory action research In: N. K. Denzin, & Y. S. Lincoln (Eds.), Handbook of Qualitative Research. 2nd ed. Thousand Oaks: Sage.

Mayer, J. D., Salovey, P., & Caruso, D. (1997). Competing models of emotional intelligence, (in Press) In R. J. Sternberg (Ed.). Handbook of human intelligence. New York: Cambridge.

McKonald, C.D., D’Amico, L., & O’Laughlin, E. M. (2000, April). Relational aggression and victimization in middle-school students.Paper presented at the 2000 Biennial meeting of the conference on human development. Memphis, TN.

McVey, V., & Mary, D. (1999). Violence on television: How teachers can help parent affect positive change nutrition, health and safety. Journal of Early Education and Family Review, 7(2), 36-45.

O’ Halloran, M. S., & Weimer, A. K. (2005). Changing roles: Individual and family therapy In the treatment of anorexia nervosa. The Family Journal, 13(2), 181-187.

Polkinghorne, D. E. (2005). Language and meaning: Data collection in qualitative research. Journal of Counseling Psychology, 52, 137-145.

Satir, V. (1983). Conjoint family therapy. 3rd ed. Palo Alto, CA: Science & Behavior Books.

Satir, V., & Baldwin, M. (1983). Satir step by step.Palo Alto, CA: Science and Behavior.

Tremblay, R. E. (2002). Prevention of injury by early socialization of aggressive behavior. Injury Prevention, 8(4), 17-21.

Tremblay, R. E. (2003). Why socialization fails. The case of chronic physical aggression. In B. B. Lahey, T. E. Moffitt, & A. Caspi (Eds.), Causes of conduct disorder and juvenile delinquency (pp. 182-224). New York: Guilford Press.

Tremblay, R. E., Nagin, D. S., Se ́guin, J. R., Zoccolillo, M., Zelazo, P. D., Boivin, M., et al. (2004). Physical aggression during early childhood: Trajectories and predictors. Pediatrics, 114(1), 43-50.