วิถีชีวิตและความมั่นคงทางอาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
นักวิชาการและนักอ่านที่สนใจเรื่องความเป็นไปของมนุษย์ในยุคปัจจุบันคงพอรู้แล้วว่า คนบนโลกจำนวนไม่น้อยกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนอาหาร ในขณะที่หนังสือของอีริค ชลอสเซอร์ และชาร์ล วิสัน (Schlosser, Eric and Wilson, Charles, 2550) ได้ชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่ผู้บริโภคอาหารจานด่วน (Fast Food) จากบริษัทฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ของโลกจะได้รับ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคฟันผุ ฯลฯ และหนังสือของไมเคิล พอลแลน ชี้ให้เห็นว่า อาหารแบบตะวันตกที่แพร่หลายไปทั่วโลกได้นำพาโรคอ้วนไปสู่ผู้ที่นิยมบริโภคและชักชวนให้เรากินพืช หลีกเลี่ยงอาหารแบบตะวันตกและบริโภคอาหารท้องถิ่นของตนเองอย่างที่คนฝรั่งเศส คนญี่ปุ่น คนอินเดีย คนกรีก นิยมกินอาหารท้องถิ่นของตน (พอลแลน, ไมเคิล, 2553)
หรือที่หนังสือของวันทนา ศิวะ (2551) และหนังสือของ เฮเลนา นอร์เบอร์ก-ฮอดจ์ และคณะ (2551) ได้หยิบเอาประเด็นการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของบรรษัทข้ามชาติ ที่ทำลายระบบอาหารและวิถีชีวิตของคนพื้นเมืองในประเทศกำลังพัฒนา ที่ผลิตและบริโภคอาหารหลากหลายชนิดตามสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของพื้นที่ ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพและทางวัฒนธรรม ให้เปลี่ยนสู่การผลิตและบริโภคอาหารจากพืชและสัตว์เพียงไม่กี่ชนิด ที่บรรษัทข้ามชาติสนับสนุนให้ผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของบรรษัท
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2540). วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวอีสาน: การสืบสานภูมิปัญญาและมรดกจากธรรมชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: อาศรมวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โดมไกร ปกรณ์. (2548). ขบวนการสิ่งแวดล้อมในสังคมไทยระหว่างพ.ศ. 2525-2535: ศึกษาการเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการเขื่อนนํ้าโจนเขื่อนแก่งกรุงและเขื่อนปากมูล. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นลินี ตันธุวนิตย์, สุไลพร ชลวิไล, ศิริพร โคตะวินนท์. (2545). ประสบการณ์ต่อสู้ของชาวลุ้มนํ้ามูลกรณีศึกษาเขื่อนปากมูลและเขื่อนราษีไศล. ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคณะ. วิถีชีวิตวิธีสู้ขบวนการประชาชนร่วมสมัย. (หน้า 182-240). เชียงใหม่: ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์มบุคส์).
นอร์เบอร์ก-ฮอดจ์, เฮเลนาและคณะ. (2551). นําอาหารกลับบ้าน. ไพโรจน์ ภูมิประดิษฐ์ (แปล). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
พอลแลน, ไมเคิล. (2553). แถลงการณ์นักกิน. คณิตสรณ์สัมฤทธิ์เดชขจร (แปล). กรุงเทพฯ: มติชน.
วิยุทธ์ จํารัสพันธุ์และประสิทธิ์ คุณุรัตน์. (2543). ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในภาคอีสาน. ใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ (บรรณาธิการ). พลวัตของชุมชนในการจัดการทรัพยากร: สถานการณ์ในประเทศไทย. (หน้า 217-281). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศิวะ, วันทนา. (2551). ปล้นผลิตผล! ปฏิบัติการจี้ยึดเสบียงอาหารโลก. ไพโรจน์ ภูมิประดิษฐ์ (แปล). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
สมศรีชัยวณิชยา. (2548). นโยบายการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐบาลไทยระหว่างพ.ศ. 2494-2519. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2548). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรมการทะลุกรอบและกับดักของความคิดแบบคู่ตรงกันข้าม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
Schlosser, Eric and Wilson, Charles. (2550). มหันตภัยฟาสต์ฟู๊ดเขมือบโลก. พูนลาภ อุทยเลิศอรุณและจินดารัตน์ แดงเดช (แปล). กรุงเทพฯ: วีเลิร์น.