การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการภาครัฐในด้านต่างๆ 8 ด้าน ได้แก่ (1) การจัดการระบบข้อมูล (2) การจัดการระบบสื่อสาร (3) การจัดการระบบตัดสินใจ (4) การบริหารจัดการระบบตรวจสอบถ่วงดุล (5) การจัดการระบบการมีส่วนร่วม (6) การจัดการระบบการให้บริการ (7) การจัดการระบบติดตามและประเมินผล และ (8) การจัดการความเสี่ยง จากการศึกษาพบว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางที่หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ภายใต้เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม และเป็นแนวทางการพัฒนาที่สมดุล มั่นคง ยั่งยืน พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และก้าวทันต่อโลกในยุคโลกาภิวัตน์
คำสำคัญ : เศรษฐกิจพอเพียง, ปรัชญา, การจัดการภาครัฐ
Abstract
This article describes the applications of the sufficient economy philosophy for public management in eight different areas: (1) information management, (2) communication management, (3) decision making management, (4) check and balance system management, (5) participatory system management, (6) service management, (7) monitoring and evaluation systems management, and (8) risk management. The study reveals that the sufficient economy philosophy is an effective guideline for public organizations to adapt in public management so that everything proceeds in accordance with the middle path concept under good wisdom, moral practice in order to achieve a balancing, firm and sustainable development that can cope with rapid change and current globalization.
Keywords : Sufficiency economy, Philosophy, Public management
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2553). การบริหารวิกฤตการณ์.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 2(1), 41-54.
วรเดช จันทรศร และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2543). การประเมินผลในระบบเปิด. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
วรเดช จันทรศร และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2544). การพัฒนาระบบมาตรฐานสากลของไทยด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
สำนักราชเลขาธิการ. (2542). "หนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล.003/18888 จากราชเลขาธิการ เรียน ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง พระราชทานบรมราชานุญาต."
Flynn, Norman. (1990). Public Sector manage-ment. Essex: Pearson Education.
James, Erika and Wooten, Lynn. (2005). Leadership as (un)Usual: How to display competence in times of crisis. Organizational Dynamics, 34(2).
Osborne, David and Gaebler, Ted. (1992). Reinventing government: How the entre-preneurial spirit is transforming the public sector. New York: The Penguin Group.