การพัฒนาระบบตรวจสอบอัตโนมัติด้วยวิธีการประมวลผลภาพบนคอมพิวเตอร์ สำหรับระบุตำแหน่งจุดบัดกรีที่ถูกต้องบนหัวอ่านข้อมูล

Main Article Content

สมบูรณ์ ถามูลตรี
สุรพันธุ์ เอื้อไพบูลย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

กระบวนตรวจเช็คตำแหน่ง Solder head pad สำหรับประกอบเป็นชิ้นส่วนหัวอ่านของฮาร์ดดิสค์ ในสายงานผลิตปัจจุบันนั้นยังคงใช้กล้องรับภาพแบบ CCD เพื่อนำภาพมาแสดงผลบนจอ และใช้การมองเห็นด้วยตาของมนุษย์ในการตรวจเช็คตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วจึงระบุถึงคุณภาพของชิ้นส่วนนั้น ว่าควรจะผ่านหรือคัดแยกออกไปจากสายงานผลิต เนื่องจากชิ้นส่วนมีขนาดเล็กจึงพบว่า การใช้กล้องรับภาพ CCD ในการตรวจเช็คด้วยการมองเห็นของมนุษย์ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ตัวอย่างเช่น เส้นที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งที่มากที่สุดและน้อยที่สุด (max-min) ที่ใช้ปากกาขีดเส้นบนจอแสดงผลภาพจะไม่ชัดเจนหรือว่าจางหายไปเมื่อใช้งานไปนานๆ หรือเกิดการเมื่อยล้าในการจ้องมองจอภาพเป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลให้ค่าที่ได้จากการมองก็จะคลาดเคลื่อนไปได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอกระบวนการประมวลผลภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย การแปลงภาพสีเป็นภาพระดับเทาและภาพสองระดับ การค้นหาส่วนภาพเพื่อหาตำแหน่งของจุดบัดกรี การหาแนวเส้นตรงเพื่อการอ้างอิง และการวัดระยะทางที่ยอมรับได้ กระบวนการเหล่านี้นอกจากจะช่วยลดการเกิดข้อผิดพลาดในการคัดเลือกชิ้นส่วนแล้ว ยังส่งผลให้อัตราการประกอบชิ้นส่วนต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากอีกด้วย

คำสำคัญ : ระบบการมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์, การประมวลผลภาพ, การค้นหาส่วนของภาพ

 

Abstract

In the hard disk drive production process, there exists a step determining the Solder Head Pad position whether it complies with the specifications. Due to the limitation of the current detection system, the microscope with CCD camera is used to magnify the details of Solder Head Pad. The measured distance which is marked on the monitor is applied in order to compare with the specification lines (max-min). If the edge of the Solder Head Pad is located within specific interval, the part is accepted. Human errors in detection processes often occur and can cause other problems such as more time loss from part reconfirmation and poor quality control causing defects to be delivered to customers. This study aims to develop an automatic prototype of the Solder Head Pad detecting mechanism to minimize human errors and make hookup more reliable. Several image processing algorithms are implemented in the current detection system. Performance and processing time of the detection process are improved.

Keywords : Computer Vision System, Image Processing, Image Template Matching

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจไพบูลย์ ชีวพันธุศรี. (2550). การออกแบบแอพพลิเคชันในระบบกราฟิกด้วย LabVIEW. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น.

กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2550). การวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Gonzalez, Rafael C., & Woods, Richard E. (2002). Digital image processing. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Intel Corporation. (2011). Open source computer vision library. from Intel Corporation Website: http// www.intel.com/technology/computing/opencv

Tombari, Federica, Mattoccia, Stefano & Stefano, Luigi Di. (2006). Template matching based on the Lp norm using sufficient conditions with incremental approximations.

IEEE international Conference on Video and Signal Based Surveillance, Sydney, NSW, Australia, November 22- 24, 2006.

Tombari, Federico, Stefano, Luigi Di, Mattoccia, Stefano & Galanti, Angelo. (2008). Performance evaluation of robust matching measures. International Conference on Computer Vision Theory and Applications, Funchal, Madeira, Portugal, January 22-25, 2008.