การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้จัดการร้านสะดวกซื้อในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพเครื่องมือวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้จัดการร้านสะดวกซื้อของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้จัดการร้านสะดวกซื้อในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล 2 ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 358 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องกับผู้จัดการร้านจำนวน 49 คนซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง ใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง การวิเคราะห์องค์ประกอบ ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้จัดการร้านสะดวกซื้อ ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่จำนวน 127 ข้อจำแนกเป็น 4 ด้านได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถในการทำงาน จำนวน 25 ข้อ ด้านทักษะการบริหารงานจำนวน 46 ข้อ ด้านบุคลิกภาพในการทำงานจำนวน 42 ข้อ และด้านภาวะผู้นำจำนวน 14 ข้อ เครื่องมือวัดมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67 ถึง 1.00 มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างอยู่ระหว่าง .24 ถึง .75 มีความเที่ยงตรงเชิงสภาพอยู่ระหว่าง .59 ถึง .74 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .40 ถึง .78 และมีความเชื่อมั่นโดยรวมและรายด้านเท่ากับ .99, .95, .97, .97 และ .91 ตามลำดับ
คำสำคัญ : ผู้จัดการร้าน, คุณลักษณะที่พึงประสงค์, ความรู้ความสามารถ, ทักษะการบริหารงาน, บุคลิกภาพ, ภาวะผู้นำ
Abstract
The objectives of this research are to find and develop the instrument for desirable characteristic evaluation of convenience store managers at CP ALL Public Company Limited. The sample group was 358 convenience store managers in Operation Division Bangkok and Circumference Area 2 by stratified random sampling and 49 expert and people involved by purposive sampling. The data were analyzed by mean, standard deviation, the index of item -objective congruence, factor analysis, Pearsons' Product Moment Correlation Coefficient and Cronbachs's alpha coefficient. The research results were convenience store manager's desirable characteristic evaluation instrument which was 127 items divided into 4 dimensions; knowledge & ability, management skills, personality for work and leadership with 25, 46, 42 and 14 items respectively. It also showed that .67 - .1.00 of content validity, .24 - .75 of construct validity and .59 - .74 of concurrent validity. Discrimination power was .40 - .78. The overall reliability and each dimension of the instrument were .99, .95, .97, .97 and .91 respectively.
Keywords : Store Manager, Desirable, Knowledge & Ability, Management Skills, Personality for Work, Leadership
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555) การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ สํานักพิมพ์ธรรมสาร.
ธนวรรธน์ พลวิชัย. (2555) ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2555 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2555, จาก http://www.thaigia.com/articleupload/sitedata.html
เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์. (2553). การศึกษาและพัฒนาลักษณะของผู้ให้คําปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้การฝึกอบรมทางการให้คําปรึกษา ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คําปรึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญธรรม จิตต์อนันต์. (2540), การวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปราณิดา ศยามานนท์. (2555). ปัจจัยขับเคลื่อน “ธุรกิจค้าปลีก” ในปี 2012. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2555,จาก http://news.thaipbs.or.th/node/63232.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2554). ภาวะผู้นําและการทํางานเป็นทีม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ธีเอส แอนด์ จี กราฟฟิค.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการค้าปลีก, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สมิต สัชฌกร. (2555). ความสําคัญของ HR ต่อองค์การเป็นอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2555, จาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=336&read=true&count=true.
สุพรรณี อินทร์แก้ว (2555). การบริหารการค้าปลีก, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ธนาเพรส.
สันติธร ภูริภักดี. (2555). กลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันสําหรับธุรกิจค้าปลีก Competitive Marketing Strategies for Retailing Business. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2555, จาก www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive journal/july.../aw31.pdf.html.
ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (2555). “เซเว่นฯ” ลดเสี่ยงน้องน้ําถล่ม ผุดดีซีกระจายภูธร-เปลี่ยนวัสดุ. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2555, จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000075682 Best, John W. (1977). Research in Education. 3'ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.