ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเซนต์เมรี่

Main Article Content

อัชฌา ชื่นบุญ
รุ่งฤดี โลลุวิวัฒน์
ศราวุธ มั่งสูงเนิน
จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์
สุนทร ช่องชนิล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยระดับองค์กรและค้นหาปัจจัยทำนายความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จำนวน 454 คน และการสนทนากลุ่มโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นหัวหน้าหน่วยงาน จำนวน 9 คน และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ค้นหาประเด็นหลัก ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยระดับองค์กร ได้แก่ สภาพแวดล้อมในงาน คุณลักษณะของงาน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่คุณลักษณะของงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด สำหรับด้านผลลัพธ์ที่คาดหวังจะอยู่ในระดับปานกลาง

2. ความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ ได้แก่ ด้านความพึงพอใจในชีวิต ด้านความพึงพอใจในงาน และอารมณ์/ความรู้สึกต่องาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อารมณ์/ความรู้สึกต่องาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ความพึงพอใจในงาน และความพึงพอใจในชีวิต ตามลำดับ

3. มีปัจจัยระดับองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รองลงมา คุณลักษณะของงาน และสภาพแวดล้อมในงาน ตามลำดับ สำหรับผลลัพธ์ที่คาดหวัง ไม่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน

4. จากผลการสนทนากลุ่ม พบว่า โดยรวมมีความสุขในการทำงาน มีความพึงพอใจในงาน ถึงแม้ว่าบางเวลาจะรู้สึกเหนื่อย ท้อใจ และเบื่อหน่ายบ้าง ความคิดเห็นต่อปัจจัยประกอบด้วย 1) ด้านภาพแวดล้อม มองว่าผู้นำและการบริหารมีความใกล้ชิดและบริหารแบบครอบครัว โครงสร้างองค์กรและกฎระเบียบมีความชัดเจน วัสดุอุปกรณ์เอื้อต่อการทำงาน และองค์กรความมีความมั่นคง สำหรับการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการต้องการให้ปรับสวัสดิการการรักษาพยาบาล 2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของงานมีความเห็นว่า งานที่รับผิดชอบมีความสำคัญต่อผู้อื่นและองค์กร และมีความภูมิใจในงานที่ทำ งานมีความหลากหลาย มีอิสระในการตัดสินใจระดับหนึ่ง การทราบผลสะท้อนกลับจากงานเป็นลายลักษณ์อักษร แต่วิธีการประเมินควรมีความเที่ยงตรงกว่านี้ 3) ปัจจัยด้านผลลัพท์ที่คาดหวัง งานประสบผลสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ การได้รับการสนับสนุนเต็มที่ตามความสามารถ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนให้มีการการอบรม และการศึกษาต่อ และ 4) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีการทำงานเป็นทีมดีในแผนก มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน

คำสำคัญ: ปัจจัย ความสุขในการทำงาน

 

ABSTRACT

This study is a quantitative and qualitative study. The objective is to study organizational factors and search for predictable factors for happiness in workspace of Saint Mary Hospital's employees. Data in the study collected by handing questionnaire to 454 employees working in Saint Mary Hospital and focus group with specific sample group who are nine head of departments and eight practitioners. This study expresses quantitative data with statistically description, comparing differences between the average numbers of two independent groups. Analyzing one-way variable, comparing in pairs with Scheffe method, multiple regression analyzing, and qualitative data by analyzing main ideas are applied the result are shown as followed.

1. Organizational factors: working environment, job characteristics, expected result, and individual interaction are high. Job characteristic has the highest average while expected result has medium average.

2. Working happiness for Saint Mary Hospital's employees: life satisfaction, work satisfaction, and emotion/feeling toward work is at high level. When examining in details emotion/feeling toward work is at the highest level following by working appreciation and life appreciation respectively.

3. There are three organization factors affecting happiness in workspace with statistic significance at 0.05: individual interaction, job characteristics, and working environment, respectively. Expected result does not affect happiness in workspace.

4. Group discussion represents overall happiness in workspace and satisfaction in work though sometimes feeling tired, disheartened, and bored are mentioned. Opinions for these factors are 1) Environment: executives and administration are close and administrates in family-like pattern. Organization structure and regulations are clear. Equipment is supportive. The organization is stable. For payment and benefit, medical benefit is suggested to be improved. 2) Job characteristics: the sample group sees that their jobs are important to others and the organization. They are proud of their work. The job has variety and a certain level of freedom in making a decision. Feedback is recognized through written document, but more accurate evaluation should be used. 3) Expected result: most of the works are successful and fully supported. There are also supports in training and education. 4) Individual interaction: teamwork within departments and relationship with executives and colleagues are good.

Keywords: Factors Happy Workplace

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนิกา ตู้จินดา. (2552). Happy 8 Workplace ความสุข 8 ประการในที่ทํางาน. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2556 จาก http://www.thaihealth.or.th/node/12827.

ชนินันท์ จันทร์สว่าง. (2553). ความสุขในการทํางานของพนักงานบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จํากัด, บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภัชชล รอดเที่ยง. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทํางานของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกอนามัยครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล. (2553). ศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความสุขในการทํางานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนา เตจ๊ะวารี. (2553). ศึกษาความสุขในการทํางานของบุคลากรสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และคณะ. (2544). การเรียนรู้อย่างมีความสุข: สารเคมีในสมองกับความสุขและการเรียนรู้

พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สํานักวิจัยเอแบคโพลล์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัน. (2553). เครือข่ายดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุข. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2556, จาก http://www.abacpollcourses.au.edu/happiness/aboutus.html

สิรินทร แซนิ้ว (2553). ความสุขในการทํางานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์:กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสือและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งานวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Diener E. (2000). Subjective Well-Being: The Science of Happiness and a Proposal for a National Index. American Psychologist. 55(1): 34-43.