ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ตามทัศนะของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2) ตรวจสอบยืนยันส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ประชากรที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 10,637 คน ใช้เทคนิคการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของยามาเน่ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 387 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามคณะที่เปิดในมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี ใช้หลักเกณฑ์ของการวิจัยเชิงปริมาณ โดยนำแนวคิดจากทฤษฏีต่างๆ ร่วมกับการใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม เพื่อสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติพรรณนาคุณลักษณะผู้ตอบแบบสอบถาม และสถิติสรุปอ้างอิงเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยโดยวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ร่วมกับการการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสำดับที่สองด้วย LISREL
จากการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ตามทัศนะของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ได้แก่ ด้านพนักงานให้บริการ กับ ด้านกระบวนการ (r = 0.67) ด้านกระบวนการ กับ ด้านลักษณะทางกายภาพ (r = 0.64) ด้านการประชาสัมพันธ์ กับ ด้านลักษณะทางกายภาพ (r = 0.53) ตามลำดับ
2) ผลศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองพบว่า องค์ประกอบที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อจากการวิเคราะห์องค์ประกอบสามลำดับแรกได้แก่ ปัจจัยด้าน ด้านลักษณะทางกายภาพ (ly7 = 0.84) ปัจจัยด้านกระบวนการ (ly6 = 0.80) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (ly1 = 0.70) ตามลำดับ
This research‘s objectives are 1) To study the relationship between service marketing-mix factors affecting buying decision making at Seven-Eleven convenient store based on the attitudes of the students of Burapha university, 2) To confirm service marketing-mix factors affecting buying decision at Seven-Eleven convenient store of the students of Burapha university using the Second Orders Confirmatory Factor Analysis as the statistical tool. The populations in the study were from 10,637 students of Burapha university in the academic year 2011. Sampling size was calculated using Yamane formula with the reliability at 95 percent, so the 387 samples were derived. Stratified random sampling was applied and to derive the samples who are undergraduates from different faculties. The quantitative research approach was using the focus group approach. A questionnaire was used as the data collection tool. The descriptive statistics, used for the analysis of the characteristics of those respondents and the inferential statistics, used in answering the research questions via Pearson's Coefficient Correlation analysis of service marketing-mix factors and the Second Orders Confirmatory Factor Analysis with LISREL.
The findings are that 1) the relationships between service marketing-mix factors affecting the buying decision at Seven-Eleven convenient store, according to 387 sampling from Burapha university students are ranked as follow: for service staff and process dimensions (r = 0.67), for process and physical characteristic dimension (r = 0.64), and for public relations and physical characteristic dimension (r = 0.53) respectively. 2) the study on service marketing-mix factors affecting to buying decision at Seven-Eleven convenient store of the students of Burapha university using the Second Orders Confirmatory Factor Analysis as the statictical tool, confirmed that the first three factors affecting buying-decision are related to physical evidence and Presentation (ly7 = 0.84), process (ly6 = 0.80), and product (ly1 = 0.70) respectively.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
จารุวรรณ แว่นแก้ว. (2554). พฤติกรรมของการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ : กรณีศึกษาร้านสะดวกซื้อนอกระบบแฟรนไซส์และร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ในกรุงเทพมหานคร. วท.ม. เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัชฎาภรณ์ ศิริรรัตนวุฒิ. (2550). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวไทยที่มีต่อสถานที่พักในจังหวัดสระบุรี, วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไตรภพ โคตรวงษา. (2549), อิทธิพลของส่วนประสมการตลาดบริการที่มีต่อนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษในการเลือกใช้บริการโรงแรมเครือข่ายในจังหวัดเชียงใหม่, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไทยคูน-แบรนด์เอจ (2555). BrandAge. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2555, จาก http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/BrandGlossary/BrandList.aspx?tabid=12&st=3&ModuleID=103&MID=61&ch=7.
ธีรวิทย์ ฉายภมร. (2544), ภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ และความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การโฆษณา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงผกา อนุรักษ์. (2545). การขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคในเขตบางกะปิ, ภาคนิพนธ์ (การตลาด) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพโรจน์ ทิพมาตร์. (2544). การบริหารการค้าปลีก. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซนเตอร์.
วิทยา วุฑฒิพงษ์พิพัฒน์. (2550). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กในเขตพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2546). การบริหารการค้าปลีก, กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สํานักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร. (2556). 7,000 สาขาส่งความสุขสู่ทุกชุมชน, กรุงเทพฯ: กิเลนการพิมพ์ จํากัด สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน สถิตินักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2554. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม2554, 310 http://reg.buu.ac.th/ENROLLGUIDE_files/pdflogo.jpg
สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552) สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคง การพิมพ์.
สุภาพร แซ่เบ๊. (2555). ตัวอย่างการวิเคราะห์ swot บริษัท ซี.พี. เซเวนอีเลฟเว่น จํากัด (มหาชน) สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2555, จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dnt&month=24-08-2008&group=40&gblog=38
อธิวัฒน์ ทรัพย์ไพฑูรย์. (2545). 6 อภิมหาอาณาจักรธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง, กรุงเทพฯ: พึ่งตน.
Etzel, Michael.J, Bruce.J. Walker and William J. Stanton. (2001). Marketing. 12th ed. Boston : McGraw-Hill.
Kotler, P (2000). Marketing Management. (The Millennium Ed.). NJ. Prentice Hall.
Levey, Michael and Barton A. Weitz. (2001). Retailing Management. New York: McGraw-Hill.
Tai. Y Choi and Raymand Chu. (2001). Determinants of Hotel Guests Satisfaction and Repeat Atoning in the Hong Kong Hotel Industry. Retrieved January 2012, from http://www.sciencedirect.com/science?
Wai Ching Poon and Kevin Lock Teng Low. (2005). Are Travelers Satisfied with Malaysian hotels ?International Jorunal of Contemporary Hospitality Management, 17(3), 217-227.
Zikmund, William and Michacl D'Amico. (2001). Marketing. 7th ed. New York : South-Western.