การตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการนำเสนอภาพข่าวอ่อนไหวทางจริยธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมาย อนุสัญญาสากล และจรรยาบรรณ ที่เป็นข้อห้ามหรือพึงระมัดระวังในการเผยแพร่ภาพข่าวอาชญากรรมและภาพข่าวอื่นๆ และศึกษาการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ที่มีต่อภาพข่าวอาชญากรรมและภาพข่าวที่ถูกร้องเรียนผ่านอนุกรรมการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ รวมทั้งภาพข่าวที่มีความอ่อนไหวในประเด็นจริยธรรม โดยใช้วิธีการศึกษาจาก (1) สำรวจเอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (2) การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกำหนดประเด็นกลุ่มนักวิชาชีพและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยอาศัยเครื่องมือ Potter Box ของ Ralph B. Potter, Jr. ศาสตราจารย์ประจำ Harvard Divinity School ในการกำหนดกรอบประเด็นคำถาม 4 ขั้นตอน ผ่านภาพข่าวอ่อนไหวทางจริยธรรมที่เป็นกรณีศึกษา ปี 2551-2552
ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายหลายฉบับ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการนำเสนอภาพข่าว ผู้ปฏิบัติงานยังใส่ใจน้อย ส่วนการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ต่อภาพข่าวอาชญากรรมและภาพข่าวที่ถูกร้องเรียนผ่านอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ในกรณีภาพประเด็นส่งเสริมความงมงายให้สังคม ประเด็นความรุนแรงและหวาดเสียว ประเด็นสิทธิส่วนบุคคลและภาพอุจาด ประเด็นด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ประเด็นสิทธิเด็กและครอบครัว ประเด็นสิทธิของผู้ต้องสงสัยในการทำแผนประกอบคำสารภาพ ประเด็นภาพข่าวเผยแพร่จากองค์กร
ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเน้นหลัก ‘หน้าที่' (means) ส่วนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเน้นหลัก ‘ผลกระทบ' (ends) ทั้งนี้กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพบางส่วนใช้หลัก ‘ผลกระทบ' ในบางกรณี
This qualitative research aimed at studying laws, international convention, and ethics which is prohibited or should be careful in publicizing criminal news photo and other kinds of photos, also studied ‘Doing Ethics' of professional journalists and different groups of stakeholders regarding criminal news photos, news photos complained via Subcommittee of Complaints Examination, National Press Council of Thailand, including ethically sensitive news photos. In-depth interviews and Potter Box by Ralph B. Potter, Jr., Professor at Harvard Divinity School were used as the research method and tool to limit areas of questions by considering sensitive news photos as the case studies.
Many laws and ethical regulations, cautions, and prohibitions relating to criminal news photos and other types of news photos were found in the research results. But many laws and those regulations are less intention.
The professional journalists and different groups of stakeholders hold both similar and different opinions towards criminal news photos and other types of news photos complained via Complaints Examination Subcommittee, National Press Council of Thailand, News photos which has ethical problems promoting credulity to the society and misguiding people from Buddhist beliefs, Violent and Terrifying case study, Privacy rights and salacious case study, Human rights problem case study, Case study of the rights of the child and family, Demonstrates the culprit's action case study, and Case study distributed from organizations which have ethical problems on the rights of the child.
The research results also were found that the ‘Doing Ethics' of the professional journalists and different groups of stakeholders were different. The journalists emphasized on ‘means' whereas the stakeholder groups weighed more on ‘ends'. Nevertheless, some groups of the journalists considered the ‘ends' principle in some cases.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กมล ฉายาวัฒนะ. (2530), ภาพถ่ายเซิงวารสารศาสตร์ เอกสารการสอนชุดวิชา การข่าวและบรรณาธิกรณ์ หน่วยที่10-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กมลา สุวรรณธรรมา. (2537), ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิในการรับรู้และสิทธิส่วนบุคคล และอิทธิพลของภาพลักษณ์ต่อการประเมินเหตุการณ์ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ศักดิ์ ศรีทานันท์. (2533). เนื้อหาข่าวและแนวทางการคัดเลือกข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระ จิรโสภณ. (2529), ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 9-15.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรวิทย์ ฤทธิทิศ. (2538), สื่อมวลชนกับความรับผิดทางกฎหมาย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2541), จิตสํานึกทางวารสารศาสตร์และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของช่างภาพหนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีลักษณ์ ศิลปี. (2539) ปัญหาด้านจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ในการเสนอข่าวอาชญากรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนั่น ปัทมะทิน. (2529), ภาพถ่ายสําหรับหนังสือพิมพ์ ในคู่มือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น, กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.
สุกัญญา สุดบรรทัด. (2539), จิตวิญญาณหนังสือพิมพ์ เอกสารประกอบการสอนวิชาจริยธรรมวิชาชีพหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนันท์ ธนะโสธร. (2535), เอกสารประกอบการสัมมนาสิทธิและเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ต่อความผิดฐานหมิ่นประมาท,กรุงเทพฯ: สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.
Bruce H. Westley and Malcolm S. MacLean. (1957). A Conceptual Model for Communication Research, 3, Springer Boston: USA.
Chris Frost. (2002). Reporting for Journalists. London & New York: Routledge in Taylor and Francis group.
Christians et al. (2001). Media Ethics: Cases and Moral Reasoning. 6th ed. Retrieved February 12,2010, from http://en.wikipedia.org/wiki/Potter_Box, 2010.
Danis McQuail. (1983). Mass Communication Theory: Introduction. London: Sage Publications. USA.
Jay Black, Bob Steele, Ralph Barney. (1995). Doing Ethics in Journalism. 2d ed. Massachusetts: A Division of Paramount Publishing. USA.
Maxwell E. McCombs and Donald L.Shaw. (1972). The Agenda-Setting Function of Mass Media.Public Opinion Quarterly, 36. USA.
Morgan Cheeseman. (2010). The Potter Box: Ethical Guidance, in Potter Box on. University of Kansas. Retrieved September 09, 2010, from http://ethichelp.wordpress.com/2010/09/21/the potter box.
Ralph B. Potter. (1972). The logic of moral argument. Boston: Boston University Press.
Robert H. Bohle. (1987). Negativism as News Selection Predictor. Journalism Quarterly. (Winter).
Stanley J. Baran & Dennis K. Davis. (1995). Mass Communication Theory: Foundations. Ferment,and Future. New York: Wadsworth Publishing. USA.
White D.M. (1950). The Gatekeeper: A Case in the Selection of News. Journalism Quarterly. 27.(Fall).