ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสถานการณ์ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทย โดยหมายถึงเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตัวคนเดียว หรือ อาศัยอยู่กับบุตรของบุตร (หลาน) และ/หรือพ่อแม่ เนื่องจากเล็งเห็นว่าผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนมากขึ้นในสังคมสูงวัยของประเทศไทย ทั้งนี้ การศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยโดยเฉพาะถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนยกระดับความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยต่อไป จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทยส่วนใหญ่มีความอยู่ดีมีสุขทางด้านสุขภาพและด้านสังคมในระดับสูง เนื่องจากมีภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระดับดี และมีส่วนร่วมในสังคมในระดับสูง อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจในระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีปัญหาความมั่นคงของแหล่งรายได้ ปัญหาการมีเงินออมต่ำ และปัญหาหนี้สิน ทั้งนี้ ผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทยต้องการการยกระดับความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับรายได้และการออม การสร้างแหล่งรายได้ที่ยั่งยืน และการลดภาวะหนี้สิน
This article presents the situation regarding well-being of senior citizens in aging families in Thailand. They are defined as elderly people who live alone or live with grandchildren and/or parents. The number of elderly people in this group is likely to increase over time in Thailand's aging society, therefore the study of well-being of senior citizens in aging families is very crucial for policy formulation and implementation to encourage well-being of senior citizens in Thailand. The findings reveal that senior citizens in aging families in Thailand mostly have high health and social well-being thanks to good physical and mental health and high social participation. However, most of them have low economic well-being due to instability of income sources, low saving and indebtedness. As a result, senior citizens in aging families in Thailand need the improvement of economic well-being for the first priority, especially income and saving promotion, sustainable income source creation and indebtedness relief.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กระทรวงการคลัง. (2553). โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2556, จาก http://www.thaigov.go.th/en/news-ministry/2012-08-15-09-16-10/item/38834-.html.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2540), โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2556, จาก http://www.moe.go.th/main2/project/prob-teach.htm.
ชุติเดช เจียนดอน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, ฉวีวรรณ บุญสุยา และนพพร โหวธีระกุล. (2554), คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อําเภอวังน้ําเขียว จังหวัดนครราชสีมา, วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 229-239.
ทวีชัย เชสูงเนิน และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2554). ความอยู่ดีมีสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสมาคมข้าราชการบําเหน็จบํานาญและผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น, Srinagarind Med Journal, 2011(26),190-194.
บวรพรรณ อัชกุล, พรรณทิพย์ เพชรมาก, พัธนยุทธ์ ศานติยานนท์, ระบบบํานาญ, วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์,วริฏฐา แก้วเกตุ และสุวิมล ฟักทอง. (2551). หลักประกันด้านรายได้สําหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพ:สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), 61 (สิงหาคม 2551).
วิทยา ธรรมเจริญ. (2555), อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2554). ความอยู่ดีมีสุขเชิงเศรษฐกิจของผู้สูงอายุในประเทศไทย. การประชุมวิชาการของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เรื่อง “นวัตกรรมอุดมศึกษา: กุญแจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”19 กรกฎาคม 2554, กรุงเทพฯ: สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2550). การสํารวจประชากรสูงอายุ พ.ศ. 2550. กรุงเทพ: สํานักงานสถิติแห่งชาติ.
อารดา ธีระเกียรติกําจร. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตําบลสุเทพ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.Veridian E-Journal, Silpakorn University, 2554(4), 1-19.
Antonucci, T.C. and Wong, K.M. (2010). Public Health and the Aging Family. Public Health Review,32(2), 512-531.
Del Campo, R., Del Campo, D. and DeLeon, M. (2000). Caring for Aging Family Members: Implications and Resources for Family Practitioners. The Forum for Family and Consumer, 5(2), 28.
Knodel, J.E., Chayowan, N. and Prachuabmoh, V. (2011). Impact of Population Change on Well-Being of Elderly People in Thailand. In Impact of Demographic Change in Thailand,G. Jones and W. Im-em (ed), UNFPA Thailand, 35-63.
UN (United Nations). (2012). World Population Prospect: The 2010 Revision. Retrieved November 7, 2012, from http://esa.un.org/wpp/unpp/p2kOdata.asp.