องค์กรการเงินชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยยังมีต่อเนื่อง แม้ว่าเครื่องมือที่รัฐบาลใช้ไม่ว่านโยบายการคลังโดยใช้ภาษี การกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยต้องพิจารณาถึงโครงสร้างสังคมและประชากรซึ่งการกระจุกตัวของคนที่มีรายได้น้อยอยู่ระดับล่างและจำนวนมาก และปัญหาหลักของกลุ่มคนนี้คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสวัสดิการสังคม แนวทางแก้ไขปัญหาประการหนึ่งคือ องค์กรการเงินชุมชน โดยเริ่มจากแนวคิดของ Muhammad Yunus เป็นผู้ก่อตั้งการเงินชุมชน โดยพยายามจัดหาสินเชื่อให้ประชาชนที่ยากจน ซึ่งประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดีสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้มีฐานะยากจน ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ สำหรับประเทศไทยได้นำแนวคิดองค์กรการเงินชุมชนมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ที่มีลักษณะเป็นการให้คำมั่นสัญญาในการประกอบอาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยใช้หลักศีลธรรม ความละอายใจต่อบาป บางแห่งให้รู้จักฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมควบคู่การประกอบอาชีพ และมีองค์กรการเงินชุมชนที่ล่มสลายไปหลายแห่งโดยประเด็นหลักคือ การขาดวินัยทางการเงิน การใช้จ่ายเกินตัวของภาคครัวเรือน และขาดการยอมรับและความเข้าใจจากหน่วยงานภายนอกและสถาบันการเงิน ดังนั้นการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนและสัจจะออมทรัพย์ควรมองมิติทั้ง 3 ด้าน คือ การพัฒนามิติด้านสังคม มิติเศรษฐกิจ และมิติเชิงนิเวศน์
ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐบาลมีร่างแผนแม่บทการเงินระดับฐานรากที่เป็นจุดเริ่มต้นและสร้างความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาระดับท้องถิ่น ตลอดจนสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อให้เกิดการยอมรับองค์กรการเงิน ประกอบกับการเชื่อมโยงกองทุนพึ่งพาตนเองขนาดเล็กเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดบูรณาการกองทุนขนาดเล็กเป็นกองทุนชุมชนจนถึงการจัดตั้งเป็น Microfinance Investment Fund (MIF) รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ต่อชุมชนโดยใช้วิถีทางศาสนาและวิถีชุมชน
Inequalities problem in Thai society are existed simultaneous that Thai government attempts to solve by means of fiscal policy and governmental agency expenditures. However, when talking about inequalities problem, it should consider social structure and crowded lower income population. The problems that they are facing are lack of accessibility to financial fund and social welfare. A way to solve these problems is microfinance which is the idea of Muhammad Yunus as its founder. The microfinance's concept is to provide credit to the poor which is done successfully. They are able to generate income and reduce inequalities in societies. In Thailand, Microfinance has been achieved, for example; Sajja Saving Group is characterized as a commitment to earn their lives with honesty with dharma, embarrassment and recognition of environmental and occupation restoration. However, there are several collapsed microfinance due to lack of financial disciplines, over spending from households and lack of awareness and understanding from related agencies. Therefore, to develop community microfinance and Sajja Saving Group should determine 3 dimensions such as social development, economic and ecological dimension
In order to sustainably develop, the government drafts financial plan at the grass root level that is the beginning step and to make it concise when its problem occurs at that level. In addition, public policy is to accept its financial institution. To connect small self-reliance fund together is to integrate small scale of fund which is becoming community fund. At last, it forms microfinance Investment Fund (MIF) that involves recognition of community by means of religion and community
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
เครือข่ายสถาบันการเงินเพื่อคนยากจน. (2553). รายงานสภาวการณ์ภาคการเงินระดับฐานราก. กรุงเทพฯ: เครือข่ายสถาบันการเงินเพื่อคนยากจนร่วมมือกับมูลนิธิเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนา.
ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์. (2544), พัฒนาชนบทยั่งยืน: สําหรับสาขาเศรษฐศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญณรงค์ วงค์วิชัย. (2553). พระสงฆ์คือสุดยอดนักจัดสวัสดิการ. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2556, จาก http://www.gotoknow.org/posts/333165
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสําหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2553). การคลังและนโยบายสาธารณะ กรุงเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ.
ทรรศยา คงเพชรศักดิ์ และนภาพร สุวรรณศักดิ์. (2553). การเชื่อมโยงภายในเพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน, เอกสารประกอบการสัมมนา “ทุนชุมชนกับการขับเคลื่อนประเทศไทย” 6-7 กรกฎาคม 2553 กรุงเทพฯ .
ทวีศักดิ์ มานะกุล. (2555). เรื่องการพึ่งพาตนเองทางการเงินของชุมชน, วารสารการเงินการคลัง กรุงเทพฯ: สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง.
บุญธรรม ราชรักษ์. (2548). การคลังว่าด้วยการกระจายความเป็นธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ภาณี ชนาธิปกรณ์. (2548). การพัฒนาที่ยั่งยืนความสมดุลของการพัฒนา. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 42(3).
ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2553). การจัดการทุนภายในกับการบริหารจัดการที่ดี เอกสารประกอบการสัมมนา “ทุนชุมชน กับการขับเคลื่อนประเทศไทย, 6-7 กรกฎาคม 2553. กรุงเทพฯ .
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ (2013), องค์กรชุมชนคนปากใต้: กลุ่มออมทรัพย์สตรีบ้านเกาะมุกด์ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อเครื่องมือ ประมงหมุนเวียน. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2556, จาก http://www.oknation.net/blog/STCC/2009/05/0]entry-3
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้. (2556). พระอาจารย์สุบิน ปณีโต 17 ปี แห่งการก่อตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์แบบชีวิตพอเพียง สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2556, จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=192217
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2530), แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2530-2534. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ.
สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2548). เรื่องรากฐานที่ยั่งยืนของการเงินฐานราก. วารสารสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพฯ: สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง.
สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2553). ข้อมูลสัดส่วนรายได้ของประชากรปี 52. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2555, จากhttp://fpo.go.th
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). ข้อมูลความเหลื่อมล้ําของรายได้ประเทศ. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2555, จาก http://www.nso.go.th
อสัมภินพงศ์ ฉัตราคม. (2556). ความล้มเหลวของตลาด (Market failure). สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2556, จาก http://www.mining.eng.chula.ac.th/CU_ETM_EnergyIssues/MarketFailure_ThaiConcept.pdf
อัมมาร สยามวาลา และคณะ. (2549). การประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคม: การวัดภาวะความยากไร้ และความเปราะบางทางสังคมสู่แนวทางไปปฏิบัติได้ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
Amarty Sen. (2012). ผู้บุกเบิกเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ. Retrieved September 5, 2012, from http://www.onopen.com
Diana Fletschner. (2008). Women's Access To Credit: Does it Matter For Household Efficiency?.Agricultural Economics Association.
August Lfe, Jim. (1996). Community development : Creating community alternative-vision, analysis and practice. Melbourne: Longman.
Mark M. Pitt and Shahidur R. Khandker. (1998). Credit Programs for the poor and reproductive behavior in Low-Income: Are the reported causal relationships the result of Heterogeneity Bias. Demography, 36(1).
Shragge and Fontan. (2000). Social Economy: International Debates and Perspectives. Montreal: Black Rose Books. Retrieved September 5, 2012, from http://books.google.co.th/book/about/social Economy.html.
Tamsin Harriman. (2008). Common Interest and SED Rank High on MIX Top 100 Composite.
Retrieved September 5, 2012, from http://blog.microfinancethailand.com/2008_12_01_ archive.html.