บทวิจารณ์หนังสือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หนังสือเรื่อง China Inc. หรือ เปิดปูมมังกร ซึ่งแต่งโดย Ted C. Fishman (2005) และนำมาแปลโดย วัฒนา มานะวิบูลย์ ในปี พ.ศ. 2550 เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจของโลกในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศจีนก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการที่ประเทศจีนก้าวขึ้นมาเป็นโรงงานอุตสาหกรรมของโลก อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าในอดีตประเทศคอมมิวนิสต์จะสามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมแซงหน้าประเทศในกลุ่มโลกเสรีทั้งหลาย ซึ่งผู้แปลคือคุณวัฒนา มานะวิบูลย์ ได้แปลโดยทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และได้เนื้อหาสาระอย่างครบครัน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่จะย้อนรอยให้ผู้อ่านมองเห็นถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังของความสำเร็จที่เกิดขึ้นและปัจจัยจากอดีตที่ผลักดันให้ประเทศจีนยิ่งใหญ่เท่าทุกวันนี้ โดยหนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 14 บท เริ่มต้นด้วยบทเกริ่นนำ ซึ่งอธิบายถึงโลกหดเล็กลง ขณะที่ประเทศจีนเติบใหญ่ขึ้น ซึ่งบทนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากและไม่อาจข้ามไปได้ อาทิเช่น การที่ประเทศจีนเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดใหญ่ของเครื่องบินโบอิ้ง 757 การอธิบายถึงสาเหตุที่ประเทศจีนกลายเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งเข้าตลาดอันดับหนึ่งของโลก ที่ผู้คนจำนวนมากต่างคิดว่าเป็นเพราะประเทศจีนมีค่าแรงต่ำ จึงทำให้ผู้ผลิตจำนวนมากต้องการว่าจ้างแรงงานราคารถูก แต่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายว่า ประเทศจีนไม่ใช่ประเทศที่ค่าแรงถูกที่สุดในโลก แต่ที่ประเทศจีนเป็นผู้ผลิตให้สินค้าจำนวนมากก็เพราะว่า ค่าแรงไม่แพงมาก ตั้งอยู่ตำแหน่งที่ค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ ผู้ผลิตจากทั่วโลกไว้วางใจ ไม่มีปากเสียง และมีความสามารถทางอุตสาหกรรม โดยมีวินัยอันเข้มงวดของรัฐเป็นผู้กำกับอยู่เบื้องหลัง หรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนอเมริกันที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะทั้งโดยตรงและโดยอ้อมกับประเทศจีน เป็นต้น
Article Details
How to Cite
บท
บทวิจารณ์หนังสือ
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”