แนวทางการบริหารจัดการองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ที่ผลิตสินค้าโอทอป กรณีศึกษา ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป กรณีศึกษา ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรของวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป กลุ่มประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การเก็บข้อมูลใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key Informants) คือ ตัวแทนวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ในระดับ 4 ดาว หรือ 5 ดาว จนข้อมูลมีความอิ่มตัว โดยมีจำนวนผู้ให้ข้อมูลรวม 28 สถานประกอบการ หลังจากนั้นทำการสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) โดยมีผู้เข้าร่วมสนทนา 8 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาเพื่อตอบวัตถุประสงค์งานวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรของวิสาหกิจชุมชนที่ดี ผู้ประกอบการต้องมีการกำหนดโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการกระจายอำนาจที่ชัดเจน กลุ่มต้องมีการจัดทำแผนธุรกิจ และมีการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ รวมทั้งการควบคุมกระบวนการที่ชัดเจนในทุกมิติ เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม และควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่ม มีรูปแบบงานการสื่อสาร สั่งการที่ชัดเจน มีค่านิยมร่วมในการทำงาน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มีทักษะที่จำเป็น เช่น จัดซื้อ ผลิต จัดส่ง ตลาด บัญชี การจัดการทุนชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่วนคุณลักษณะของผ้ปู ระกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้ที่ดี ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้นำกลุ่มที่เข้มแข็ง มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีการบริหารจัดการองค์กรที่ดี นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า ผู้นำกลุ่มและวัฒนธรรมองค์กร เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลสำคัญต่อสมรรถนะการดำเนินการของวิสาหกิจชุมชนด้วยเช่นกัน
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Blake, R. R. & Mouton, J. S. (1994). The Managerial Grid. Houston: Gulf Publishing.
Hogeforster, M. (2014). Future challenges for innovations in SMEs in the Baltic Sea Region. Procedia Social and Behavioral Sciences, 110, 241-250.
Shooruang, T. (1998). Relationship Between Administrator’s Leadership Behavior and Organizational Climate in Non-Governmental Organization in Southern Thailand. Master’s Thesis, Department of Library public administration, Graduate School, Prince of Songkhla University. [in Thai]
Sunhachavee, B. (2017). Role of Service Innovation to Increase the Potential Operation Case Study Resort business in Thailand. Journal of Social Psychology, 6(2), 65-74. [in Thai]
Thaipublic. (2016). His Majesty King Rama IX with Economics. Retrieved March 1, 2018, from https://thaipublica.org/2016/11/pier-13/ [in Thai]
White, R. & Hamermesh, R. (1981). Toward A Model of Business Unit Performance an Integrative Approach. Academy of Management Review, 6(2), 213-223.
Yongvanit, S. (2010). Local Leadership in Southern Thailand. Doctoral dissertation, Department of Humanities and Social Sciences, Graduate School, Khon Kaen University. [in Thai]