รูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมไปสู่การจัดการเกษตรอย่างยั่งยืนของชุมชนเกษตรกร เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
เกาะเกร็ดเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะและมีความสำคัญในจังหวัดนนทบุรี แต่ด้วยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและเศรษฐกิจ-สังคมที่เปลี่ยนไปทำให้วิถีชีวิตของเกษตรกรเกาะเกร็ดได้รับผลกระทบอย่างมหาศาลเพื่อที่จะธำรงวิถีชีวิตของเกษตรกรไว้ต่อไป การปรับเปลี่ยนแนวทางการเกษตรเพื่อไปสู่การจัดการเกษตรอย่างยั่งยืนจึงเป็นสิ่งจำเป็น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของแบบแผนการจัดการเกษตรของชุมชนเกาะเกร็ด 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเกษตรให้มีความยั่งยืน การศึกษาใช้การวิจัยเอกสารและการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (participatory observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) รวมถึงการสร้างตัวแบบ (model) ในการจัดการการเกษตร โดยใช้วิธี qualitative scenario building ในการถอดบทเรียนจากข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรเกาะเกร็ดทำการปลูกพืชแบบผสมผสานมาตั้งแต่ยุคสังคมจารีต แต่มีการปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปคือ การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และการได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ การจัดการเกษตรของชุมชนเกาะเกร็ดในปัจจุบันเป็นแนวทางของเกษตรยั่งยืนในลักษณะการเกษตรผสมผสาน แต่มีปัญหาสำคัญ 4 ประการคือ 1) ภัยธรรมชาติ 2) ตลาด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้อง และ 4) การขาดผู้สืบทอดทางการเกษตร ตัวแบบการพัฒนาการจัดการเกษตรอย่างยั่งยืนจะเป็นการเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์ของภาคีปัญหาเข้าด้วยกันและสรุปออกมาสองประเด็นคือ 1) การเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่โดยเสนอการปลูกพืชในสองลักษณะคือ พืชที่ทนต่อสภาพแวดล้อมอันผันแปรเพื่อความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจและพืชที่มีนัยทางวัฒนธรรมเพื่อรักษาความยั่งยืนทางสภาพแวดล้อมและสังคมเพื่อธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของวิถีชุมชน และ 2) การบูรณาการการท่องเที่ยวเข้ากับการเกษตร เพราะการท่องเที่ยวเป็นวิถีหลักในปัจจุบัน ประกอบกับการเกษตรไม่สามารถเป็นรายได้หลักอีกต่อไป สิ่งจำเป็นคือ การบูรณาการการท่องเที่ยวเข้ากับการเกษตรโดยมีภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนารูปแบบเพื่อให้การเกษตรของเกาะเกร็ดยังคงดำรงอยู่ได้และยั่งยืนต่อไป
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Bodhisitti, M. (2015, September 6). Interview. Pensioner. [in Thai]
Boonpook, P. (2010). In the Name of Amphoe Pakkret. Nontaburi: Sukhothaithammathiraja University Press. [in Thai]
Charoensin O-larn, C. (2004). “Sustainable Agriculture: on Identity and Knowledge” in Rakyutitthamma, A. (ed.). Sustainable Agriculture: Multi Perspectives on Thai Agriculture. (pp. 67-84). Bangkok: Pimdee. [in Thai]
Committee of World Food Security. (2016). Sustainable Agricultural Development for Food Security and Nutrition: What Role for Livestock? Retrieved June 25, 2018, from https://www.fao.org/3/a-i5795e.pdf
Hansakunatai, A. (2016, February 9). Interview. Chief Operating Officer of Water Loss, Metropolitan Waterworks Authority. [in Thai]
Hengsuwan, P., Wai Kham, A., RakYuthidhamma, A. & NawakijBamrung, P. (2004). Pattern and Technique of Sustainable Agriculture. Bangkok: Pimdee. [in Thai]
Jaidee, P. (2015, November 11). Interview. Public Relation Officer, Koh Kret Sub-district administration Organization. [in Thai]
Langchang, K. (2015, October 17). Interview. Head of Koh Kret Orchard Agriculturalist. [in Thai]
Lianchamroon, W. (2011). Agricultural Revolution for Food Security: an Analysis and Policy Implementation. Bangkok: Pimdee. [in Thai]
Natsupa, C. (2004). “Community Economics on the Ground of Sustainable Agriculture” in Rakyutitthamma, A. (ed.). Sustainable Agriculture: Multi Perspectives on Thai Agriculture. (pp. 201-210). Bangkok: Pimdee. [in Thai]
Noppakun, S. (2015, November 26). Interview. Agricultural Officer-Professional Level, Koh Kret district. [in Thai]
Ramkomut, A. (1999). Mon, Livelihood, Customs, Culture, Earthenware, Nontaburi. Bangkok: Literature and History Section, Department of Fine Arts. [in Thai]
Reijntjes, C., Haverkort, B. & Waters-Bayer, A. (2004). An Introduction to Low-External-Input and Sustainable Agriculture. (W. Panyakul, Trans.). Bangkok: Earth Net Foundation. [in Thai]
Rodkrachub, P. (2015, October 17). Interview. Head of Koh Kret Durian Orchard Agriculturalist. [in Thai]
Shotikakham, C. (1999). The Development of Sustainable Agriculture for Quality of Life and National Security. Bangkok: Center Discovery. [in Thai]
Siripat, D. (2011). The Path of Sustainable Agriculture. Bangkok: Pimdee. [in Thai]
SriSarutanonta, K., Bodhisangha, W. & Suttisakdisopon, P. (2005). The Diversity of Agricultural Plants in Chaophraya River Orchard and Koh Kret Area, Nontabuti. Bangkok: Kasetsart University Press. [in Thai]
Tatsang, S. (2015, January 9). Interview. Chief Executive, Koh Kret Sub-district administration Organization. [in Thai]
USDA. (2007). Sustainable Agriculture: Definitions and Terms. Retrieved June 25, 2018, from https://www.nal.usda.gov/afsic/sustainable-agriculture-definitions-and-terms#toc2
Yangnoi, K. (2010). Conservative and Restorative Ways of Nontaburi Durian Cultivation Intellectual for the increase of Community Economic Value. Master Thesis, Mahasarakham University. [in Thai]