กลยุทธ์การสื่อสารความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ฤทธิพล กันธาสุวรรณ์
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ

บทคัดย่อ

          “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ของประเทศไทยมีสัญญาณบ่งชี้จาก “ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่” ในปี พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชกระแสเกี่ยวกับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นำมาซึ่งกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนหลายด้าน อาทิ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรจีงได้จัดทำ “ยุทธศาสตร์ชาติ" โดยกำหนดคติพจน์ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ซึ่งภาคเอกชนที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นภาคส่วนหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความ “ยั่งยืน” ให้กับประเทศได้ หลายบริษัทที่เผชิญปัญหาภูมิทัศน์ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้นำประเด็นเรื่องความยั่งยืนใช้ในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
          งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และกลวิธีด้านความยั่งยืน (2) เพื่อศึกษาการดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารความยั่งยืน และ (3) ศึกษาแนวโน้มและทิศทางการดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการใช้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารเชิงกลยุทธ์และรูปแบบการสื่อสารความยั่งยืนร่วมอภิปราย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญในระดับ Key Informants จำนวน 10 คน ที่ดูแลด้านการดำเนินกลยุทธ์ความยั่งยืนขององค์กรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีมูลค่าหลักทรัพย์มากกว่า 100,000 ล้านบาท และเป็นองค์กรที่เคยได้รับและไม่ได้รับรางวัล SET Sustainability Awards จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2558-2559
          ผลการศึกษาพบว่า (1) การกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และกลวิธีด้านความยั่งยืน ได้มีการจัดทำแผนแม่บทและดำเนินกลยุทธ์ความยั่งยืนใน 3 มิติคือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลายองค์กรได้เพิ่มเติมมิติความโปร่งใสและการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้เข้าไปอยู่ในแผนกลยุทธ์ความยั่งยืนขององค์กร (2) การดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารความยั่งยืนได้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แต่ละองค์กรได้จัดหมวดหมู่ไว้ โดยเน้นสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นความต้องการและความคาดหวัง จากนั้นจึงจัดทำแผนแม่บทด้านการสื่อสาร การพัฒนาเนื้อหาสาร และคัดเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละกลุ่ม (3) แนวโน้มและทิศทางการสื่อสารความยั่งยืนได้ให้ความสำคัญและสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการพัฒนาเนื้อหา ช่องทางและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม รวมทั้งจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลให้เข้าถึงได้อย่างโปร่งใสและมีการบูรณาการร่วมกัน ประกอบกับการนำกฎระเบียบข้อบังคับโดยภาครัฐมาใช้ในการปฏิบัติอันจะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ ผลจากการวิจัยจะช่วยให้ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการดำเนินกลยุทธ์หรือการสื่อสารความยั่งยืนขององค์กรที่เป็นสมาชิกหรือไม่ได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้นำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานและการบริหารจัดการเรื่องการดำเนินกลยุทธ์และการสื่อสารความยั่งยืนขององค์กรได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Barth, M. (2012). Social Learning Instead of Educating Each Other. GAIA, 21(2), 91-94.

Bonini, S. (2012). The Business of Sustainability. Chicago: McKinsey & Company.

Friedman, T. L. (2009). Hot, flat, and crowed: Why we need a green revolution-And how it can renew America, release 2.0. New York: Picador/Farrar, Straus, and Giroux.

Funtowicz, S. & Ravetz, J. (1993). Science for the Post-normal Age. Futures, 25(7), 739-55.

Godemann, J. & Michelsen, G. (2011). Sustainability Communication: Interdisciplinary Perspectives and Theoretical Foundations. Dordrecht, The Netherlands, New York: Springer.

Grossman, N., Algie, J., Treerutkuarkul, A. & Wegner, N. (2015). Thailand’s Sustainable Development Sourcebook: Issues and Information, Ideas and Inspiration. Singapore: Editions Didier Millet.

Khapa, L. (2016). The 20-Year National Strategy, Sustainable Development Goals and the 12th National Economic and Social Development Plan of Thailand. Retrieved June 30, 2016, from https://www.trf.or.th

Luhmann, N. (1995). Social System. CA: Stanford University Press.

Mahoney, J. (2013). Strategic Communication: Principles and Practice. South Melbourne: Oxford University Press.

Moser, S. C. (2010). Communicating Climate Change: History, Challenges, Process and Future Directions. WIREs Clim Change, 1(1), 31-53.

National Strategic Plan Committee. (2016). The 20-Year National Strategy (2017-2037).Retrieved July 9, 2016, from https://www.royalthaipolice.go.th/downloads

Nerlich, B., Koteyko, N. & Brown, B. (2010). Theory and Language of Climate Change Communication. WIREs Clim Change, 1, 97-110.

Newig, J. (2011). Sustainability Communication: Interdisciplinary Perspectives and Theoretical Foundations. Dordrecht, The Netherlands, New York: Springer.

Newig, J., Schulz, D., Fischer, D., Hetze, K., Laws, N., Lüdecke, G. & Rieckmann, M. (2013). Communication Regarding Sustainability: Conceptual Perspectives and Exploration of Societal Subsystem.Sustainability, 5, 2976-2990.

Nidumolu, R., Prahalad, C. K. & Rangaswami, M. R. (2009). Why Sustainability is now the Key Driver of Innovation. Harvard Business Review, 87(9), 56-64.

Reilly, H. & Hynan, A. (2014). Corporate Communication, Sustainability, and Social Media: It’s not Easy (really) Being Green. Business Horizons, 57(6), 747-758.

The Stock Exchange of Thailand (2015). SET Awards. Retrieved June 12, 2016, from https://www.set.or.th/th/news/issuer_activities/setawards/setawards_p1.html

United Nations. (2015). Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development.Retrieved August 16, 2016, from https://sustainabledevelopment.un.org/post2015/transformingourworld/publication

Van Marrewijk, M. & Werre, M. (2003). Multiple levels of corporate sustainability. Journal of Business Ethics, 44(2/3), 107-119

Ziemann, A. (2011). Communication Theory and Sustainability Discourse. Dordrecht, The Netherlands, New York: Springer.