ความรู้ทางโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ชลิดา เลื่อมใสสุข
วัชรี พืชผล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ทางโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี รวมทั้งเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่า t-test ค่า F-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า มีนักศึกษาที่มีความรู้ทางโภชนาการอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 37.17) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 25.42) และระดับต่ำ (ร้อยละ 37.42) เมื่อวิเคราะห์ความรู้ทางโภชนาการพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับประเภทของอาหารมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านรูปแบบการกิน และผลของอาหารต่อสุขภาพ ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยแบ่งเป็น 5 ระดับ พบว่า การเลือกซื้ออาหารอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (คะแนน 3.54±0.43) ขณะที่อาหารที่บริโภค (3.29±0.31) มูลค่าในการบริโภค (3.13±0.47) และนิสัยการบริโภค (3.11±0.42) อยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้ทางโภชนาการ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ผลการวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับนักศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alternative Medicine Bureau. (2007). Foods for Health. Bangkok: WVO Offce Printing Mill.

Boonchaucho, E. (2016). Thai Food Knowledge and Consumption Behaviors of Undergraduates at Dusit Thani College, Bangkok Metropolis. Dusit Thani College Journal, 10(2), 165-179. [in Thai]

Boonporn, W. (2009). Health Food Consumption Behaviors of Bangkok Metropolitan Residents. Bangkok: Ramkhamhaeng University. [in Thai]

Boonrin, V. (2010). Factors Affecting Food Consumption Behaviors of University Students Ubon Ratchathani Province. Journal of Graduate School, Pityatat, 5(1), 154-163. [in Thai]

Chaingkuntod, S., Mattawangkul, C., Chancharoen, K., Hongkrailert, N., Romnukul, N., Udomsri, T. & Ngawmull, S. (2013). Knowledge and Behavior on Food Consumption of Pasi Charoen Persons. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation. [in Thai]

Green, L. W. & Kreuter, M. W. (1999). Health Promotion Planning an Educational and Ecological Approach

(3rd ed). California: Mayfeld Publishing.

McClain, A. D., Chappuis, C., Nguyen-Rodriguez, S. T., Yaroch, A. L. & Spruijt-Metz, D. (2009). Psychosocial Correlates of Eating Behavior in Children and Adolescents: A Review. The International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 6, Article ID 54.

Penpong, M. S. (2016). Food Consumption Behavior of Students in Suratthani Province. Journal of Management Sciences, 3(1), 109-126. [in Thai]

Ruangying, J., Jorajit, S. & Janyam, K. (2016). Food Consumption Behavior of Adolescents in Songkhla Province: Synthesis of Literacy and Factors Influencing Food Consumption Behavior. Journal of Liberal Arts Prince of Songkla University Hat Yai Campus, 8(1), 245-264. [in Thai]

Tongnun, S. (2009). The Study of Nutrition Knowledge, Consumption Behavior and Nutritional Status of Kluaynamthai Hospital, Bangkok Personnel. Master’s Thesis, Home Economics, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon [in Thai]