รูปแบบการปรับตัวเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในภาคบริการการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อัญชลี นรินทร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในภาคบริการการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในภาคบริการการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) สร้างรูปแบบการปรับตัวสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในภาคบริการการท่องเที่ยวที่มีผลต่อข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจในภาคบริการการท่องเที่ยวจำนวน 480 คน และผู้ใช้บริการในภาคบริการการท่องเที่ยวจำนวน 15 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจากแบบสอบถามและการวิเคราะห์เหตุผลเชิงตรรกะจากการสัมภาษณ์


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ความได้เปรียบในความสามารถของการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ที่เกี่ยวเนื่องในภาคบริการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ได้เปรียบในด้านต้นทุนมากที่สุด รองลงมา ด้านตอบสนองลูกค้า และด้านความแตกต่างด้านบริการน้อยที่สุด 2) ผลการวิเคราะห์พบว่า CMIN = 289.401 ผ่านเกณฑ์, DF = 207 ผ่านเกณฑ์, P = 0.041 ไม่ผ่านกณฑ์, CMIN/DF = 1.137 ผ่านเกณฑ์, GFI = 0.914 ผ่านเกณฑ์, AGFI = 0.891 ผ่านเกณฑ์, RMR = 0.048 ผ่านเกณฑ์, PGFI = .493 ผ่านเกณฑ์ ชี้ให้เห็นว่า กรอบแนวคิดในการวิจัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ทำการศึกษา แสดงว่า ปัจจัยที่อยู่ภายในโมเดลสมการโครงสร้างเป็นตัวอธิบายความได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ในภาคบริการการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครได้เหมาะสมแล้ว 3) ภายใต้สมการโครงสร้าง ปัจจัยที่พยากรณ์ความได้เปรียบในความสามารถในการแข่งขันได้ดีที่สุดคือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ตัวแปรที่เป็นตัวชี้วัดคือ ราคา การส่งเสริมการตลาด และการสนับสนุนจากรัฐ รองลงมาคือ ปัจจัยทรัพยากรการบริหาร ตัวแปรที่เป็นตัวชี้วัดคือ การตลาด เงินทุน และการบริหาร ส่วนน้อยที่สุดคือ ปัจจัยข้อมูลทั่วไป (GNL) ตัวแปรชี้วัดคือ สัดส่วนของทุนและลักษณะธุรกิจ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ความได้เปรียบในความสามารถในการแข่งขันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยหลักๆ ทั้ง 3 อยู่ที่ร้อยละ 72.4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buranasri, K., Pongyeela, A. & Parncharoen, C. (2010). The effects of Business environment corporate entrepreneurship: A case study of medium and large size manufacturing corporations in Thailand. Suddhiparitad Journal, 24(73), 73-88. [in Thai]

Chompoonut, C. (2016). Development in the Hospitality in the Tourism Services sector. Retrieved June 18, 2017, from https://www.gotoknow.org/posts/478069 [in Thai]

Department of Tourism. (2012). Development of Tourism services to support the development of Tourism services 2012- 2017. Retrieved June 25, 2017, from https://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/52/fle_1447138609.pdf [in Thai]

Hair, J. F., Tatham, R. L., Anderson, R. E. & Black, W. (1998). Multivariate Data Analysis with Readings. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Praditbongkoch, S. & Sirikutta, S. (2011). Adaptation strategies to support the trade liberalization Asean economic community for the outbound tourism entrepreneurs in Bangkok Metropolis. Srinakharinwirot Business Journal, 2(2), 1-18. [in Thai]

Rojsanyakul, N. (2017). The Readiness to Accommodate to ASEAN Economic Community of Hotels and Resorts in Prachuap Khirikhan Province. Dusit Thani College Journal, 10(1), 23-43. [in Thai]

Sootphum, W. (2014). Gems and jewelry entrepreneurs attitudes in Chanthaburi Province towards business adaptation. Thesis, M. A. (Social Sciences for Development), Rambhai Barni Rajabhat University. [in Thai]

Sukato, N. (2016a). Business Performance and Innovation in The Hotel Industry: A Case of Small and Medium Enterprises. Suthiparithat Journal, 30(93), 208-220. [in Thai]

Sukato, N. (2016b). The Qualitative Study of Small –Sized Hotels in Thailand. FEU Academic Review, 10(2), 114-129. [in Thai]

The Offce of Small and Medium Enterprises. (2016). Report on Small and Medium Enterprises Situation in 2016. Bangkok: The Offce of Small and Medium Enterprises. [in Thai]

Tipsri, N., Bamroong, P., Kusanjai, S. & Tachayod, S. (2015). Competitive Advantage by strategic marketing management in changing economy era of one product business in Chiang Rai Province. Journal of Modern Management Science, 8(1), 153-166. [in Thai]

Tiptipakorn, S. (2016). An adjustment guideline of business operations for SMEs affected from 300 baht Minimum daily wage policy: Case studies in Nakhon Pathom province. Veridian E-Journal, 8(2), 1. [in Thai]

Wichiansri, N. et al. (2017). The tourism in 2018 is expected that the income from the tourism will be expanded. Retrieved December 25, 2017, from https://www.ryt9.com/s/iq03/2759725 [in Thai]

Wiset, N. (2012). Factors influencing business operations of small and medium enterprise entrepreneurs in Nonthaburi Province. Research Report, Rajapruk University. [in Thai]