ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานเทคนิคแผนผังความคิดสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

รินรดี ปาปะใน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานเทคนิคแผนผังความคิดสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) ประเมินความพึงพอใจนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานเทคนิคแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครูที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 31 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานเทคนิคแผนผังความคิดวิเคราะห์ข้อมูล โดยการคำนวณค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน โดยใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ได้รับจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานเทคนิคแผนผังความคิด มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษาวิชาชีพครูมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานเทคนิคแผนผังความคิดในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านบรรยากาศในชั้นเรียน รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ลำดับสุดท้ายนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Barrows, H. S. (2000). Problem-Based Learning Applied to Medical Education (Rev.ed.). Springfeld, Illinois: School of Medicine, Southern Illinois University.

Boonniyom, S. (2005). A comparison of learning achievement on plants and animals of sixth grade students taught by mind mapping technique and teacher’s manual. Graduate school, Silpakorn University. [in Thai]

Donmueang, S. (2001). The effectiveness of a problem-based learning approach in teaching the nursing home subject at Ayuraved school. Graduate school, Mahidol University. [in Thai]

Duch, B. J., Groh, S. E. & Allen, D. E. (2001). The Power of Problem-Based Learning. Virginia: Stylus Publishing.

Gelb, M. J. (1996). Thinking for a Change. London: Aurum Press.

Hongladarom, T. (2001). Problem-based learning. News Service Education Division, 12(89), 5-11. [in Thai]

Khamsing, C. (2014). Using mind mapping to integrated reading and writing skills and develop students satisfaction with English language subject. Lanna Polytechnic Chiang Mai Technology College. [in Thai]

Limrat, N. (2003). Problem-based learning model. Training materials for new teacher in a seminar 2003. Teaching and learning topic. Bangkok: (n.p). [in Thai]

Munkam, S. & Munkam, O. (2009). 21 Methods of Learning Management to develop the thinking system. Bangkok: P̣ hap phim. [in Thai]

Plubpla, S. (2000). The development of learning achievement on life safety of the fourth students taught by problem based learning approach. Graduate school, Silpakorn University. [in Thai]

Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (2016). Hands-on. Retrieved October 5, 2016, from https://www.rmutt.ac.th/about/graduate-practitioners [in Thai]

Research Offce of Eastern Asia University. (2010). Synthesis of the problem-based process. Pathum Thani: Eastern Asia University. [in Thai]

Sinngam, Y. (2013). Problem-Based Learning (PBL). Retrieved September 21, 2015, from www.vcharkarn.com [in Thai]

Songsaen, S. (2012). A comparison of learning achievement and attitude form problem-based learning (PBL) for students program in Early Childhood Education, learning management correspond with the brain of early childhood course. Faculty of Education, Chiang Rai Rajabhat University. [in Thai]

Suwannoi, P. (2015). Problem–based Learning (PBL). Retrieved September 21, 2016, from https://ph.kku.ac.th/thai/images/fle/km/pbl-he-58-1.pdf [in Thai]