แนวคิด Circular Economy เพื่อสังคมโลกที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลภาวะของสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และระบบเศรษฐกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุปทานจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตในอนาคตทำให้หลายๆ ประเทศโดยเฉพาะในสหภาพยุโรป เช่น ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ได้หันมาให้ความสำคัญกับแนวคิด Circular Economy หรือเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน โดยให้ความสำคัญเรื่องการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ (re-material) หรือการนำมาใช้ซ้ำ (reuse) ซึ่งข้อดีของเศรษฐกิจหมุนเวียนคือ ต้นทุนสินค้าต่ำ สร้างมลภาวะน้อยลง ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง ลดปัญญาการขาดแคลนสินค้า และสร้างงานได้มากขึ้น ดังนั้น สหภาพยุโรปจึงนำ แผนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนมาใช้เพื่อเป็นแนวทางให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิกในการเพิ่มศักยภาพความสามารถในการแข่งขัน และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน แนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนนั้น ตั้งอยู่บนหลักการสามข้อคือ หนึ่ง การรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สอง การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการหมุนเวียนวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และ สาม การรักษาประสิทธิภาพของระบบด้วยการระบุเพื่อลดผลประทบเชิงลบให้มากที่สุด โดยหลักการทั้งสามข้อของแนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน ทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีขยะ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยพลังงานหมุนเวียน การให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต สำหรับประเทศไทยได้มีการเตรียมตัวเพื่อตอบรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้ข้อตกลง ASEAN-UN Plan of Action 2016-2020 ด้วยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่เน้นการขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนจะเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
วารสารปัญญาภิวัฒน์ขอเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำเสนอเนื้อหาผลงานวิจัยและวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องการบริหาร การจัดการ การจัดการเกษตร การเรียนการสอน รวมถึงประเด็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาชีพต่างๆ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกท่านคงได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”