กรอบการนำเสนอข่าวและการแข่งขัน: ประเด็นมลพิษทางอากาศ (PM2.5) ในสื่อใหม่ของจีน

Main Article Content

He Man
Sukanya Sereenonchai

บทคัดย่อ

         การศึกษานี้เน้นวิเคราะห์และอภิปรายการกำหนดกรอบการนำเสนอข่าว PM2.5 ของสื่อออนไลน์ 3 สำนักคือ Xinhua Net, The Paper.cn และ China Science and Technology Network เพื่อวิเคราะห์การผสมผสานและการแข่งขันของอำนาจสื่อ การศึกษานี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกำหนดกรอบการนำเสนอข่าวและวิธีการเชิงประจักษ์
ในการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวที่นำเสนอตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึง 1 มิถุนายน 2561 ข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ 1) ความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงของประเด็น PM2.5 โดยวิเคราะห์จากกรอบการนำเสนอแต่ละประเด็น Xinhua Net เน้นเสนอประเด็นเชิงสถาบัน The Paper.cn เน้นเสนอประเด็นเชิงสถานการณ์ และ China Science and Technology Network เน้นเสนอประเด็นหลากหลาย 2) ผู้นำในกรอบข่าว PM2.5 ได้รับการวิเคราะห์จากแหล่งข้อมูลพบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้กำหนดกรอบหลักและมีอำนาจในการเผยแพร่ข้อมูล 3) การศึกษาพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในวาทกรรมสื่อ Xinhua Net เน้นนโยบายแห่งชาติและการบริหาร ขณะที่ Paper.cn และ China Science and Technology Network สะท้อนชีวิตประจำวันของสาธารณชนและการกำกับดูแลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4) การวิเคราะห์ผู้มีบทบาทในการกำหนดกรอบการนำเสนอข่าว เสียงสะท้อน และกระบวนการแพร่กระจายข่าว พบว่า ทั้ง 3 เว็บไซต์นำเสนอตามรูปแบบยอดเขา กล่าวคือ เมื่อประเด็น PM2.5 ไปถึงจุดสูงสุด นักข่าวเลือกการรายงานอย่างใกล้ชิดและอ้างถึงแหล่งข้อมูลที่คล้ายกันเพื่อเพิ่มจำนวนครั้งในการรายงาน และนำเสนอประเด็นสูงสุดที่น่าสนใจ ในการกำหนดกรอบการนำเสนอข่าว PM2.5 Xinhua Net เป็นผู้นำและผู้ให้ความหมาย Paper.cn มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ของสื่อมวลชน การสะท้อนและการแพร่กระจายของกรอบการนำเสนอ ขณะที่ China Science and Technology Network เป็นผู้ตามในการนำเสนอข่าว

Article Details

How to Cite
Man, H., & Sereenonchai, S. (2019). กรอบการนำเสนอข่าวและการแข่งขัน: ประเด็นมลพิษทางอากาศ (PM2.5) ในสื่อใหม่ของจีน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(1), 12–28. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/185358
บท
บทความวิจัย

References

Bao, Y. (2012). Study on the New Characters of Environmental News Reporting: Taking the PM2.5 Reports of Liberation Daily as an Example. Today’s Media, 8, 38-39. [in Chinese]

Bourdieu, P. (1991). Language and Symbolic Power. Cambridge, Mass: Harvard University Press.
de Vreese, C. H. (2005). News framing: Theory and typology. Information Design Journal + Document Design, 13(1), 51-62.

Dispensa, J. M. & Brulle, R. J. (2003). Media’s Social Construction of Environmental Issues: Focus on Global Warming- A Comparative Study. The International Journal of Sociology and Social Policy, 23(10), 74-105.

Entman, R. M. (1993). Framing: Toward clarifcation of a fractured paradigm. Journal of Communication, 43(4), 51-58.

Entman, R. M. (2007). Framing Bias: Media in the Distribution of Power. Journal of Communication, 57, 163-173.

Gitlin, T. (2003). Media Unlimited: How the Torrent of Images and Sounds Overwhelms Our Lives. New York: Henry Holt and Company.

Goffman, E. (1974). Framing Analysis: An essay on the Organization of Experience. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.

Jin, P. (2014). Daily Environmental Struggle in Social Media: Taking the Construction of New PM2.5 Protest Plays as an Example. Journal of Anhui University, 4, 151-156. [in Chinese]

Liu, T. (2017). PM2.5, Knowledge Production and Hierarchical Criticism of Ideographs: a Rhetorical Approach to the Study of the History of Ideas. International Press, 39(6), 63-86. [in Chinese]

Pan, Z. D. (2006). Structural Analysis: a Field in Need of Theoretical Clarifcation. Journal of Communication and Society, 1, 17-46. [in Chinese]

Semetko, H. A. & Valkenburg, P. M. (2000). Framing European politics: A content analysis of press and television news. Journal of Communication, 50(2), 93-109.

Sparks, C. (1992). Popular Journalism: Theories and Practice. In Peter Dahlgren and Colin Sparks. (Eds.). Journalism and Popular Culture. London: Sage.

Wu, M. (2014). Media Construction Research on Environmental Issues. The Doctoral Dissertation, Zhengzhou University. [in Chinese]

Xu, J. H. (2012). Online News Reports of Air Quality Issues in Beijing. Telematics and Infronatics, 29, 409-417. [in Chinese]

Zeng, F., Dai, J. & Zheng, J. (2013). Frames Contest, Resonation and Diffusion: An Analysis on News Coverage of PM2.5 Issue. International Press, 35(8), 96-108. [in Chinese]

Zhuang, J. (2014). Media Presentation of Haze Reports: Taking People’s Daily, Southern Metropolis Daily and New Century as Examples. Journal of Graduate Students of Central China Normal University, 12, 122-124. [in Chinese]