การวิเคราะห์โซ่อุปทานส่วนต้นน้ำของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงด้วย SCOR Model
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโซ่อุปทานของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และวิเคราะห์โซ่อุปทานส่วนต้นน้ำของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงด้วย SCOR Model โดยเก็บข้อมูลจากประชากร 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้รวบรวมข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงที่คัดเลือกโดยศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวจังหวัดพัทลุง จำนวน 7 กลุ่ม และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
ที่เป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้รวบรวมมีจำนวนตัวอย่าง 69 ราย ผลการวิจัยพบว่า โซ่อุปทานของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ประกอบด้วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง(ต้นน้ำ) ทำการปลูกข้าว และข้าวจะถูกรวบรวมโดยผู้รวบรวมนำส่งโรงสีข้าวเพื่อแปรรูปเป็นข้าวสาร (กลางน้ำ) จากนั้นผู้รวบรวมจะทำหน้าที่จัดจำหน่ายทั้งส่งและปลีกภายใต้ตราสินค้าของตนเองต่อไป (ปลายน้ำ) ผลการวิเคราะห์โซ่อุปทานส่วนต้นน้ำตามมิติของ SCOR Model ในแต่ละหน้าที่เป็นดังนี้ 1) กระบวนการวางแผนพบว่า เกษตรกรไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณผลผลิตที่แน่นอนในแต่ละปีได้ เนื่องจากปริมาณผลผลิตจะขึ้นอย่กู ับภัยธรรมชาติ และไม่ทราบข้อมูลปริมาณความต้องการของผู้รวบรวม 2) กระบวนการจัดหาพบว่า เกษตรกรไม่สามารถผลิตพันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ในปริมาณที่เพียงพอได้ 3) กระบวนการผลิตพบว่า เกษตรกรไม่ได้รับทราบข้อมูลด้านคุณลักษณะของข้าวที่ผู้บริโภคต้องการส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพของข้าวสังข์หยด และประสบปัญหาอุทกภัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต 4) กระบวนการจัดส่งพบว่า เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนในการขนส่งสูง เนื่องจากเกษตรกรต้องเช่ารถขนส่งและจ้างแรงงานในการลำเลียงด้วยตนเอง ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น 5) กระบวนการส่งคืนพบว่า ไม่มีปัญหาในการส่งคืน เนื่องจากผ้รู วบรวมจะรับซื้อข้าวทั้งหมดในราคาที่แตกต่างกันตามคุณภาพ จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) เกษตรกรควรรับทราบข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการเพื่อจะได้นำมากำหนดแนวทางการผลิตข้าวเพื่อให้ได้คุณภาพและสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยผู้รวบรวมสามารถเป็นผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับเกษตรกรได้ และ 2) ในการพัฒนาศักยภาพของโซ่อุปทานของข้าวสังข์หยดควรมีการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีทั้งในส่วนของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อเป็นแนวทางเดียวกันในการผลิตข้าวให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Kamonlimsakun, S. Watcharakietsak, T., Kitatron, D. & Techateerapreda, S. (2017). Rice Logistics and Supply Chain Management in Nakhon Ratchasima Province: Current Situation, Relations, Problems and Development Guidelines. Suranaree Journal of Social Science, 2(11), 119-143. [in Thai]
Matichon Online. (2016). Sangyod Muang Phatthalung Rice Granted GI Protection in EU. Retrieved July 1, 2018, from https://www.matichon.co.th/economy/news_319986 [in Thai]
Rice Department. (2018). What is GI rice. Retrieved July 1, 2018, from https://brpd.ricethailand.go.th/index.php/standard-rice/77-gi01 [in Thai]
Saeton, S. (2007). Sangyod Muang Phatthalung Rice. Retrieved July 1, 2018, from https://ptl-rrc.ricethailand.go.th/images/image/pdf/newpicture/s_yod.pdf [in Thai]
Saeton, S. (n.d.). Health Rice: Sangyod Muang Phatthalung. Retrieved July 1, 2018, from https://ptl-rrc.ricethailand.go.th/images/image/pdf/newpicture/s_yod5.pdf [in Thai]
Simchi-Levi, D., Kaminsky, P. & Simchi-Levi, E. (2003). Designing and Managing the Supply Chain, Concept, Strategies and Case Studies. New York: McGraw-Hill.
Sinjaru, T. (2007). Research and Data analysis using SPSS (7th ed). Bangkok: V Inter Print. [in Thai]
Supply Chain Council. (2010). Supply Chain Operations Reference (SCOR) Model: Overview-Version 10.0. Cypress, TX: The Council.
Thoucharee, S. & Pitakaso, R. (2012). Logistics and Supply Chain Management of Rice in the Northeastern Area of Thailand. KKU Research Journal, 17(1), 125-141. [in Thai]
Tinnaphop, T., Meksang, S. & Chanbanchong, C. (2016). Supply Chain Management by Community Enterprise Producing Organic Rice in the Central Region of Thailand. VRU Research and Development Journal Science and Technology, 11(3), 320-330. [in Thai]
Verma, R. & Boyer, K. (2010). Operations and Supply Chain Management: World Class Theory and Practice. London: South-Western Cengage Learning.
Wongyutthagai, P. (2008). Supply Chain Management. Journal of Industrial Education, 2(2), 6-10. [in Thai]