การพัฒนาคลังข้อสอบการวัดทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคลังข้อสอบการวัดทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ 2) เพื่อหาคุณภาพของข้อสอบ โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักศึกษา จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. ข้อสอบการวัดทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ จำนวน 90 ข้อ ประกอบด้วย เนื้อหา 3 โปรแกรม ได้แก่ ไมโครซอฟต์เวิร์ด ไมโครซอฟต์เอ็กเซล ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ (เวอร์ชั่น 2013) 2. แบบประเมินคุณภาพข้อสอบ โดยข้อสอบดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบความตรง ตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน แล้วนำไปทดสอบเพื่อคัดเลือกและปรับปรุงข้อสอบโดยการหาค่าความยากและค่าอำนาจจำแนก โดยวิธีของเบรนแนน และหาคุณภาพของแบบทดสอบโดยการหาค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของโลเวทท์
การวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาและประเมินข้อสอบการวัดทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ โปรแกรม โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด ไมโครซอฟต์เอ็กเซล และไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในเกณฑ์ 0.4-1.0 ทั้ง 3 โปรแกรม มีค่าความยากของข้อสอบ ไมโครซอฟต์เวิร์ดไมโครซอฟต์เอ็กเซล และไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ ในเกณฑ์ที่เหมาะสมคือ 0.505-0.885, 0.267-0.617 และ 0.575-0.82 ตามลำดับ สำหรับค่าความยากของข้อสอบไมโครซอฟต์เวิร์ด มีค่าตั้งแต่ 0.505-0.885 และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบมีค่าตั้งแต่ 0.240-0.681 ไมโครซอฟต์เอ็กเซลค่าความยากของข้อสอบ มีค่าตั้งแต่ 0.265-0.825 และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ มีค่าตั้งแต่ 0.267-0.617 ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ ค่าความยากของข้อสอบมีค่าตั้งแต่ 0.575-0.82 และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ มีค่าตั้งแต่ 0.319-0.685 คะแนนจุดตัดตามวิธีของแองกอฟของข้อสอบ โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด คะแนนจุดตัดเท่ากับ 14 คะแนน ไมโครซอฟต์เอ็กเซล คะแนนจุดตัดเท่ากับ12 คะแนน ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ คะแนนจุดตัดเท่ากับ 12 คะแนน ค่าเฉลี่ยของคะแนน ไมโครซอฟต์เวิร์ดมีค่าเท่ากับ 21.98 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.446 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของโลเวทท์ ไมโครซอฟต์เวิร์ดมีค่าเท่ากับ 0.83 ค่าเฉลี่ยของคะแนน ไมโครซอฟต์เอ็กเซล มีค่าเท่ากับ 15.02 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.500 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของโลเวทท์ ไมโครซอฟต์เอ็กเซล มีค่าเท่ากับ 0.91 ค่าเฉลี่ยของคะแนน ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ มีค่าเท่ากับ 25.465 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.449 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของโลเวทท ์ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ มีค่าเท่ากับ 0.87 แบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบทดสอบที่มีคุณภาพ สามารถนำมาใช้วัดข้อสอบการวัดทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Jaychay, B. (2002). A construction of performance test Microsoft Word processing. Master of Education Thesis in Educational Measurement and Research, Prince of Songkla University. [in Thai]
KhajornKam, S. (2011). The Development of item bank system for comprehensive examination on principles of information systems. Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]
Meecharn, S. (1998). The study of confdence and straightness in classifying students according to their knowledge and non-knowledge of criteria-based tests which uses different cut point scoring methods. Pattani: Prince of Songkla University. [in Thai]
Phetrak, R. (2004). A Development Standardized Mathematics Achievement Test for Prathomsuksa 5-6 Students in Education Region II. Master of Education Thesis in Educational Measurement and Research, Prince of Songkla University. [in Thai]
Romsi, S. (1981). A construction of criterion-referenced test of metric in mathematics for mathayomsuksa V students. Master of Education, Mahasarakham University. [in Thai]
Saiyod, L. & Saiyod, A. (2000). Educational research techniques. Bangkok: Suviriyasan. [in Thai]
Srisa-ard, B. (1997). Research in measurement and evaluation. Bangkok: Suviriyasan. [in Thai]
Suwannarat, P. (2002). A Construction of Mathematical Ability Test for Prathomsuksa Five Students. Master of Education Thesis in Educational Measurement and Research, Prince of Songkla University. [in Thai]
Wiboonsri, Y. (1997). Measurement and achievement test construction (2nd ed.). Bangkok: Arksornthip. [in Thai]