การรับรู้คุณภาพการให้บริการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสาร แบบปากต่อปากของโรงพยาบาลเอกชน

Main Article Content

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพการให้บริการและการสื่อสารแบบปากต่อปากตามทัศนะของผู้รับบริการที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชน (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของผู้รับบริการที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวของไลเคิร์ท จำนวน 44 ข้อ เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple Regression Analysis: MRA) ด้วยวิธี Stepwise นำไปประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้คุณภาพการให้บริการทางการแพทย์และการต้อนรับของโรงพยาบาลเอกชนอยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับสมการปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของโรงพยาบาลเอกชน คือ

การสื่อสารแบบปากต่อปาก = .308พนักงานต้อนรับ+.231การบริการชำระเงิน+.169การดูแลห้องพักผู้ป่วย+.144การบริการของแพทย์ +.144การเข้าพักในโรงพยาบาลเอกชน+.108การบริการด้านอาหาร;

R2 = 0.658, SE = 0.378

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ กมลวาทิน (2556). การรับรู้โฆษณาในอินเทอร์เน็ตต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, ปริญญานิพนธ์บริหารมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556) ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2556, จาก http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=VIBHA&language=th&country=TH

แพทยสภา. (2556). มาตรฐานการบริการทางการแพทย์ สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2556 จาก http://www.tmc. or.th/

ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2556). Integrated Healthcare Holdings Sdn Bhd (IHH).

สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2556, จาก http://www.thai-aec.com

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). ร้อยละของโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน ที่มีผู้ป่วยนอกชาวต่างประเทศเข้ารับการรักษา จําแนกตามกลุ่มโรค ปี พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2556, จาก http://servicenso.go.th/nso/nso_center/project/search/result_by_department-th.jsp

เอ็มมานูเอล โรเซน. (2546). กลยุทธ์การตลาดปากต่อปาก, แปลโดย ป.ฉัชยา, กรุงเทพฯ: เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส.

Assale, Henry. (1998). Consumer behavior and marketing action. 6th ed. Cincinnati, Ohio: South Western College Publishing.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. & Berry. (1991). Refinement and Reassessment of the SERVQUAL Scale, Journal of Retailing, 67, 4, Winter, pp.420-450.

Vinai Panjakajornsak. (2008). A Comprehesive Model Service Loyalty in The Context of Thai Private Hospitals. PhD. Thesis, Eastern Asia University, Thailand.

Zeithaml, V.A., and Bitner M.J. (2000), Service Marketing: Integrating Customer Focus Across Firms, USA : McGraw Hill.