การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการเชิงระบบในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของบริษัทในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างการใช้สมรรถนะเป็นฐานและการใช้ตำแหน่งงานเป็นฐาน

Main Article Content

สุภาวดี ศรีโยหะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการเชิงระบบในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของธุรกิจเทคโนโลยี สารสนเทศและ (2) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการเชิงระบบในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างการใช้สมรรถนะเป็นฐาน (Competency based) และการใช้ตำแหน่งงานเป็นฐาน (Job based)

วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบพหุกรณีศึกษา โดยผู้วิจัยเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจงจำนวน 2 องค์กร คือ องค์กร ก ซึ่งเป็นองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ประสบความสำเร็จในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ด้วยการใช้สมรรถนะเป็นฐาน และองค์กร ข ซึ่งเป็นองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ประสบความสำเร็จในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ด้วยการใช้ตำแหน่งงานเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือตัวนักวิจัย แนวคำถามในการสัมภาษณ์ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล เจ้าหน้าที่สรรหา และหัวหน้างาน และแบบสังเกตบริบทองค์กร  โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า

ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเชิงระบบในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของทั้งสององค์กรมีความเหมือนและความต่าง ดังนี้  ความเหมือน ได้แก่ (1) ช่องทางที่มีประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์การรับสมัครงาน (2) เครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือกบุคลากร เช่น แบบฟอร์มใบสมัครงานและการสัมภาษณ์ และ (3) การตรวจสอบภูมิหลังของผู้สมัครก่อนว่าจ้าง ส่วน ความต่าง คือ (1) เป้าหมายขององค์กร (2) งบประมาณในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร (3) วิธีระบุจำนวนบุคลากรและตำแหน่งงานที่ต้องการจ้าง (4) กระบวนการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่ทำหน้าที่สัมภาษณ์ (5) กระบวนการสัมภาษณ์ (6) เกณฑ์และกระบวนการในการประเมินผู้สมัครงาน และ (7) คุณภาพของบุคลากรใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูชัย สมิทธิไกร (2552) การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (3). กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง จํากัด.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dubois, D.D., Rothwell, W.J., Stern, J.K., & Kemp, L.K. (2004). Competency based: Human Resources Management. Palo Alto California: Davis Black Publishing.

Lawler II, E.E. (1994). From job-based to competency-based organizations. Journal of Organizational Behavior, 1(15), 3-5.

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather than for "intelligence". American Psychologist, 28(1), 1-14.

Mitrani, A., Dalziel,M.M., & Fitt D. (1992). Competency Based Human Resource Management: value-Driven Strategies for Recruitment, Development and Reward. London: Kogan Page.

Spencer, L.M., Jr., & Spencer, S.M. (1993). Competency at work. New York: John Wiley & Sons.

Soderquist, K.E., Papalexandris A., loannou, G. & Prastacos G. (2010). From task-based to competency based : A typology and process supporting a critical HRM transition. Personal Review, 3(39),325-346.

Uliana, E., Macey, J. & Grant, P. (2005). Towards reporting human capital, Meditari Accountancy Research, 2(13), 167-188.

Wood, R. & Payne, T. (1998). Competency Based Recruitment and Selection A practical Guide.Chichester: John Wiley & Sons