การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการบริหารร้านสาขาอย่างมืออาชีพสำหรับสายปฏิบัติการ ระดับผู้จัดการร้าน ในธุรกิจตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ

Main Article Content

ธีรภัทร สุขสมทรัพย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการบริหารร้านสาขาอย่างมืออาชีพสำหรับสายปฏิบัติการระดับผู้จัดการร้าน ในธุรกิจตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ และ 2) เพื่อศึกษาผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการบริหารร้านสาขาอย่างมืออาชีพสำหรับสายปฏิบัติการ ระดับผู้จัดการร้าน ในธุรกิจตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการที่เหมาะสมตรงตามความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านปฏิกิริยา (Reaction) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีระดับความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในระดับมาก (2) ด้านการเรียนรู้ (Learning) จากประเมินความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยการวิเคราะห์ความถูกต้องในการตอบแบบสอบถามและแปรผลคะแนนเป็นอัตราส่วนร้อยละ ของการทำแบบสอบถามก่อนและหลังการฝึกอบรม ก่อนการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีระดับความรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย หลังการฝึกอบรม พบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาระดับความรู้เป็นรายด้าน พบว่า ก่อนการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีระดับความรู้อยู่ในระดับน้อย แต่เมื่อได้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับมาก เพิ่มขึ้นในทุกๆ ด้าน (3) ด้านพฤติกรรม (Behavior) จากการประเมินระดับความสามารถ โดยหัวหน้างานโดยตรงของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีระดับความสามารถก่อนการอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อหลังจากเข้ารับการฝึกอบรม พบว่าระดับความสามารถหลังการอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ (4) ด้านผลลัพธ์ (Results) จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสำเร็จที่เกิด รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในภาพรวมที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานหลังการอบรมนั้น ด้านยอดรับชำระ (จำนวนรายการ) มียอดรับชำระ(จำนวนรายการ)  เพิ่มขึ้นจากยอดรับชำระก่อนการฝึกอบรม และในด้านข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า จำนวนข้อร้องเรียนหลังการอบรม มีจำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการลดลงไปจากเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทร์ ชุ่มเมืองปัก. (2545). การดําเนินการฝึกอบรมการศึกษานอกระบบ. นนทบุรี: สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เจษฎาพร เมธีพิทักษ์ธรรม. (2541). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สําหรับภาคเอกชน: การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของเคิร์ก แพททริค, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาโสตทัศนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ซูชัย สมิทธิไกร. (2547). การสรรหาการคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. กรุงเทพมหานคร สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติวรรณ สินธุ์นอก. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะที่จําเป็นของผู้จัดการฝึกอบรมสําหรับองค์กร เอกชนในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2549). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management), กรุงเทพมหานคร บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด (มหาชน).

ทวีป อภิสิทธิ์. (2553). เทคนิคการเป็นวิทยากรและนักฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี อินทรเสนีย์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการสร้างจิตสํานึกในการให้บริการสําหรับบุคลากรผู้ให้บริการในโรงแรม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยมหิดล.

เพิ่มสิน ลาภาวิสุทธิ์. (2549), อบรมบ่มเพาะกันเข้าไป ทํางานไม่ได้ดั่งใจซักกะที กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์ กราฟฟิค.

วรารัตน์ เขียวไพรี. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development HRD), กรุงเทพมหานคร บริษัท สิรบุตรการพิมพ์ จํากัด

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2551). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์โฟรเพซ.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management), พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

สมชาติ กิจยรรยง และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง (2550). เทคนิคการจัดการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หลักการและแนวคิด, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร ห้างหุ้นส่วนจํากัด เอ็ม. ที. เพรส.

อภิชาติ แก้วดวง. (2550). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมพนักงานใหม่: กรณีศึกษาแผนกจัดส่งชิ้นส่วนการประกอบ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จํากัด (โรงงานเกตเวย์), วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

Kirkpatrick, D. L., & Kirkpatrick, J. D. (2006). Evaluating training programs: The four levels. 3rd ed. San Francisco: Berrett-Koehler.

Nadler, L., & Nadler, Z. (1994). Designing training programs: The critical events model. 2nd ed.Houston, TX: Gulf.

Saylor, G. J. & Alexander. W. M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York: Holt Rinehart and Winston.