การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ในธุรกิจการบริการของบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการบริการ บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจบริการ โดยใช้วิธีการเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า
สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการบริการของบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ประกอบด้วยสมรรถนะ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านแรงจูงใจ ประกอบด้วย (1.1) มีความมุ่งมั่นในการทำงาน (1.2) มีความเป็นมืออาชีพ (1.3) มีความกระตือรือร้น (1.4) มีจิตวิญญาณของผู้ให้บริการ และ (1.5) มีความขยันในการทำงาน 2) ด้านคุณลักษณะเฉพาะ ประกอบด้วย (2.1) มีความรอบคอบระมัดระวัง และ (2.2) มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า 3) ด้านอัตมโนทัศน์ ประกอบด้วย (3.1) มีความซื่อสัตย์สุจริต (3.2) มีคุณธรรมและจริยธรรม และ (3.3) มีวินัยในตนเอง 4) ด้านความรู้ ประกอบด้วย (4.1) มาตรฐานกระบวนการรับชำระเงิน (4.2) กระบวนการการขายและการให้บริการลูกค้าที่ถูกต้อง (4.3) ช่องทางการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (4.4) ความรู้ในเรื่องการรับชำระจากเอกสารประเภทต่างๆ และ (4.5) การสร้างโอกาสในการแข่งขันเพื่อเพิ่มยอดขาย และ 5) ด้านทักษะ ประกอบด้วย (5.1) การตัดสินใจ (5.2) เทคนิคการสื่อสารและการประสานงาน (5.3) การจัดการลูกค้าและการส่งเสริมการขาย (5.4) การหาแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และ (5.5) การทำงานเป็นทีม
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กีรติ ยศยิ่งยง. (2549). ขีดความสามารถ: Competency based approach. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อปปี (ประเทศไทย).
กัญญาพัชร บํารุงกิจ. (2552). ปัจจัยสู่ความสําเร็จในการเป็นผู้ประกอบการร้านขายหนังสือในเขตกรุงเทพมหานคร สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไขนภา ทันจันทึก. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการธุรกิจการของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม ในจังหวัดขอนแก่น วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
จิราพร พูนพิพัฒน์. (2550), การศึกษาสมรรถนะหลักที่จําเป็นของผู้บริหารระดับผู้จัดการตามความต้องการของบริษัทข้ามชาติเพื่อการพัฒนาบุคลากรอย่างมีคุณภาพ. วิทยานิพนธ์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
เจนวิทย์ คูหากาญจน์. (2546). การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสบความสําเร็จ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดบุคส์.
ชาคริยา สุดดี. (2551). ปัจจัยสู่ความสําเร็จของผู้ประกอบการร้านขายยาในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชาลิสา เลิศสกุล. (2555). การพัฒนาเกณฑ์สมรรถนะเพื่อประเมินคุณลักษณะของผู้ประกอบการใหม่ สาขาธุรกิจ ไซเบอร์และสาขาการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์และมัลติมีเดีย, ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขา วิชาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัชวาล วนิชผล. (2546). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและภูมิความรู้ความชํานาญ ที่มีผลต่อความสําเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ.
บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จํากัด. (2556). ประวัติบริษัท. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.counterservice.co.th/counterservicesq[/th/about/index.html.
ธํารงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2551). Training Roadmap ตาม Competency เขาทํากันอย่างไร?. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) นิสดารก์ เวชยานนท์. (2549), Competency-based approach. กรุงเทพฯ: กราฟิโกซิสเต็มส์.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2554). การวิเคราะห์งานไม่ยากอย่างที่คิด. สมุทรปราการ: ดี. เค.ปริ้นติ้งเวิลด์.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549), ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์, กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
วีระยุทธ ทนทาน. (2555). แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะการทําธุรกิจของผู้ประกอบการ การค้าชายแดนไทย-ลาว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับการบูรณาการประชาคมอาเซียน, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาราชภัฏศรีสะเกษ.
สุกริช มารัตนชัย. (2547). ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จของผู้ประกอบการร้านซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท.สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุษณีย์ จิตตะปาโล. (2549), ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
อํานาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. นนทบุรี: มาเธอร์ บอส แพคเก็จจิ้ง.
Green, C. P. (1999). Building Robust Competencies: Linking Human Resource System To Organization Strategies. San Francisco: Jossey Bass.
Hornaday, J.A. (1982). Research about Living Entrepreneurs. in Encyclopedia of Entrepreneurship. ed. Kent/Sexton/Vesper. 26-27.
Johnson, P. L. (1993). ISO 9000: Meeting the new international standards. New York: John Wiley & Sons.
Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competency at work: Model for superior Performance. New York: John Wiley & Sons.