สภาพและความต้องการในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 5 (เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 5 (เชียงใหม่ลำพูนแม่ฮ่องสอน) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้บริหาร และบุคลากรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ กลุ่ม 5 จำนวน 238 คน ผู้เรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ กลุ่ม 5 จำนวน 377 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 คน ตัวแทนผู้บริหาร และบุคลากรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ จำนวน 10 คน ตัวแทนผู้เรียนในกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ จำนวน 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ค่าร้อยละและการบรรยายสรุปความผลการวิจัยพบว่าสภาพการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนมี ดังนี้1) การรับรู้/ตระหนักถึงความสำคัญ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการ (ร้อยละ 45.80) แต่ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน
(ร้อยละ 33.95) 2) กิจกรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ศิลปวัฒนธรรมและสื่อเทคโนโลยีเป็นสื่อในการพัฒนาวัฒนธรรมของประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียน (ร้อยละ 62.18) มีการจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ/ภาษาอาเซียน เพื่อการเรียนรู้และสื่อสารกับผู้อื่น
(ร้อยละ 61.27) โดยมีการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมกับผู้เรียนจากต่างประเทศที่เข้ามาเรียนในโรงเรียน และมีชาวต่างชาติทำหน้าที่เป็นจิตอาสาช่วยสอน 3) กิจกรรมที่บรรลุตามเป้าหมายพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มใหญ่ กำหนดให้มีการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ(ร้อยละ 20.17) และ 4)กิจกรรมที่ไม่พร้อม พบว่าผู้ตอบจำนวนหนึ่งเห็นว่าควรมีเว็บไซต์เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างเยาวชนอาเซียน (ร้อยละ 5.46) และโรงเรียนยังไม่มีงบประมาณบริหารจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวกับอาเซียนในส่วนความต้องการในการเตรียมความพร้อม พบว่า ต้องการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างเป็นรูปธรรมต้องการให้สถานศึกษาสนับสนุนและจัดให้มีกิจกรรมการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนจัดโครงการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียนโดยเชิญเจ้าของภาษามาแนะนำเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
นายชัยยนต์ เสรีเรืองยุทธ. (2555). การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนประชานิเวศน์ สํานักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://www.prachaniwet.ac.th/teacher-Noom.html
พระครูใบฎีกาบุญชู ชุติปญโญ (บุญวงศ์) (2555), รูปแบบการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาสืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://journal.drchalard.com/journalV4/4 3/aded 4 3.103118.pdf
ราตรี สีงาม. (2555). การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุธี แก้วเขียว. (2553). บทบรรณาธิการ. ใน จับกระแสอาเซียน Emphasis on ASEAN Movement. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
กองพุทธศาสนสถาน. (2554). การพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน.กรุงเทพฯ : สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ดพ.ศ. 2555-2559 สืบค้นเมื่อ 25กมภาพันธ์ 2557. จาก http://www.old.rmutt.ac.th/?wpfb d=210