ตัวแบบการพยากรณ์อัตรากำลังคนที่เหมาะสมกับภาระงาน : กรณีศึกษาร้านสาขาบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษางานการกำหนดความต้องการอัตรากำลังคนที่เหมาะสมกับภาระงานและ 2) นำข้อค้นพบมาพัฒนาตัวแบบการกำหนดและการพยากรณ์อัตรากำลังคนให้เหมาะสมกับภาระงานในร้านสาขาเซเว่นอีเลฟเว่น ฯ โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งใช้คำถามปลายเปิดกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญและทดลองปฏิบัติงานจริงตามภาระงานที่เกิดในทุกขั้นตอน สำหรับการศึกษา เชิงปริมาณได้ใช้แบบบันทึกการจับเวลากิจกรรมต่าง ๆ กับพนักงานที่เหมาะสม และถ้าเวลาที่ได้มายังไม่เพียงพอต่อระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 จะใช้แบบสุ่มจับเวลาพนักงานที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในรอบการทำงานเดียวกันและมีความชำนาญในงานที่กำลังทำการศึกษาเวลานั้น ๆ โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าพิสัย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาในเชิงคุณภาพและผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ประการที่จะนำไปพัฒนาตัวแบบเพื่อกำหนดและพยากรณ์อัตรากำลังคนคือ 1) กระบวนการที่จำเป็นและกิจกรรมที่เหมาะสม 2) ภาระงานแปรผันซึ่งเป็นข้อมูลนำเข้าที่ส่งผลทำให้ร้านสาขา ฯ มีจำนวนอัตรากำลังคนที่ไม่เท่ากัน 3) เวลามาตรฐานที่ใช้ในการทำงานในแต่ละกิจกรรมและ 4) เวลาการทำงานมาตรฐานของพนักงานต่อคน จากผลการวิจัยเมื่อนำทั้ง 4 องค์ประกอบมาสร้างความสัมพันธ์เชิงระบบเป็นตัวแบบ Workforce Demand Forecasting Dynamic Model: WDFDM สามารถคำนวณและสรุปอัตรากำลังคนที่เหมาะสมตามภาระงานได้ว่าภาระงานในร้านสาขา ฯ ที่ใช้เป็นกรณีศึกษานี้มีภาระงานโดยรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 6,607,284.58 วินาที/เดือน ในขณะที่เวลาการทำงานมาตรฐานของพนักงานต่อ 1 คนคิดเป็น 649,728 วินาที/เดือน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของอัตรากำลังคนที่เหมาะสมกับภาระงานในร้านสาขา ฯ โดยรวมที่จำเป็นต้องใช้งานคิดเป็น (6,607,284.58 / 649,728) เท่ากับ 10.17 คน/เดือน
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กฎษดา แสวงดี. (2545). แนวทางการจัดอัตรากําลังทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัศดุภัณฑ์.
กฤติน กุลเพ็ง. (2552). การวางแผนและวิเคราะห์อัตรากําลังเพื่อการบริหารทรัยพยากรมนุษย์, พิมพ์ครั้งที่ 1กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จํากัด.
กอบกาญน์ เอกสินธุ์. (2547). การวัดการทํางานของบุคลากร งานบริการห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ผันสุ ชุมวรฐายี. (2547). การศึกษาเวลามาตรฐานการทํางานและการกําหนดอัตรากําลังในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์, การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญเดิม พันรอบ. (2552). หลักการและแนวคิดการวางแผนและการพยากรณ์อัตรากําลังคน. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2556 จาก www.panrob.com/v2009/img/doc/210221-2552-00-02-principle-and-ideas-of-planning.pdf
รวีวรรณ เล็กศรีสกุล. (2556). การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้จัดการร้านสะดวกซื้อ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศิริพงษ์ เศาภายน (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์, พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ไทยร่มเกล้า จํากัด บริษัทบุ๊ค พอยท์ จํากัด.
สมชาย หิรัญกิตติ. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จํากัด.
สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล. (2549). การวางแผนกําลังคนเชิงกลยุทธ์ในส่วนราชการ. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2556, จาก http://www.songkhla.go.th/songkhla52/km/km4000005.pdf
สุภาพร พิศาลบุตร. (2548). การสรรหาและบรรจุพนักงาน, พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: โครงการศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Barnes, Ralph M. (1980). Motion and Time Study : Design and Measurement of Work. 7th ed. New York : John Wiley & Sons.
International Personnel Management Association. (2002). Workforce Planning Resource Guide for Public Sector Human Resource Professionals. Verginia, 2002. Retrieved October 15, 2003, from http://ipma hr.org/sites/default/files/pdf/hrcenter/Workforce Planning/cpr wforce plan.pdf
The State Auditor's Office. (2006). Workforce Planning Guide. Retrieved October 15, 2003, from
http://www.hr.sao.state.tx.us/Workforce/06-704.pdf http://www.hr.sao.state.tx.us/workforce/