การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักของโรงพยาบาลเซนต์เมรี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักของโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักของโรงพยาบาลเซนต์เมรี่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ และประเภทผู้ปฏิบัติงาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็น บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
ค่าความตรงตามเนื้อหาโดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Std. Deviation) ค่าความแตกต่างทางสถิติ t-test และ F–test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้วิธีการของเชพเฟ่ (Scheffé’s Method) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักของโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.09) และรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านความซื่อสัตย์ (= 4.31) รองลงมาด้านลูกค้า/ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (= 4.18) พฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ (= 4.12) การทำงานเป็นทีม (= 4.10) การสื่อสาร (= 4.08) และการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (= 3.76)
2. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักของโรงพยาบาล
เซนต์เมรี่ ดังนี้
2.1 จำแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเพศหญิงจะมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักสูงกว่าเพศชาย
2.2 จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยบุคลากรที่มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรีจะมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักสูงกว่าบุคลากรที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี
2.3 จำแนกตามอายุ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า บุคลากรอายุ 31-40 ปี มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักด้านความซื่อสัตย์สูงกว่ากลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี
2.4 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า บุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงาน 11 ปี ขึ้นไปมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักด้านความซื่อสัตย์สูงกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี
2.5 จำแนกตามประเภทผู้ปฏิบัติงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า บุคลากรสายวิชาชีพมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรตามค่านิยมหลักด้านพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ และด้านความซื่อสัตย์มากกว่าบุคลากรสายสนับสนุน
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
กิตติกร ไทยใหญ่. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครู. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.dpu.ac.th/dpurc/download
ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2545). การตลาดธุรกิจบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1), กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (ม.ป.ป.). คุณลักษณะพึงประสงค์ของครูตามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์ กรกฎาคม 2556, จาก http://www.dpu.ac.th/dpurc/ download
ผดุงศิษฐ์ ชํานาญบริรักษ์. (2552), รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในชุมชน: กรณีศึกษาในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
ราชบัณฑิต. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์พับลิชั่นส์.
โรงพยาบาลเซนต์เมรี. (2555). แผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลเซนต์เมรี ปีพุทธศักราช 2556 - 2560. จังหวัดนครราชสีมา :
โรงพยาบาลเซนต์เมรี่,
สาวิตรี ยิ้มแย้ม. (2547). การสํารวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการของโรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ อําเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี.
สิรนนท์ สรรเพ็ชร. (2553). เอกสารประกอบการคําบรรยาย “การให้คําปรึกษาเชิงอภิบาล” วันที่ 27-29 พฤษภาคม 2010 ณ ศูนย์อภิบาลคามิลเลียน ลาดกระบัง กรุงเทพฯ
สมบูรณ์ ตันยะ. (2542). ค่านิยมทางการศึกษาของไทย: อดีตอนาคตปัจจุบัน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.
Cruce, C.A. (1992). A Study of Communication among the Personnel of Church Related Entity and the Implication for Effective Leadership. 53(06): 1723: december.
Rokeach, M. (1968). Belief, attitudes and value: A theory of organization and change. New York: Jossey-Bass.