การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึ่ม ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์ประยุกต์

Main Article Content

ชามาศ ดิษฐเจริญ
ปริญญ์ ทนันชัยบุตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางสำหรับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคอนสตรัคชั่น  นิซึ่ม ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์ประยุกต์ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ นักเรียนโรงเรียน

บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ที่เรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์ จำนวน 30 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research Design) เป็นการศึกษากลุ่มทดลองกลุ่มเดียว มีการทดสอบหลังทดลอง 1 ครั้ง (One – Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนว      คอนสตรัคชั่นนิซึ่ม จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ 3) แบบประเมินโครงงานหุ่นยนต์ และ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์ประยุกต์ ผลการวิจัยพบว่า

นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึ่ม สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ที่ประกอบด้วย 1) ความคิดริเริ่ม 2) ความคิดคล่องตัว ความคิดยืดหยุ่น 4) ความคิดละเอียดลออ(Guilford,1971) มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยร้อยละ 85.33 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 90 และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึ่ม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์ประยุกต์ คิดเป็นร้อยละ 81.44 ของคะแนนเต็มและมีจำนวนนักเรียนผ่านตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด โดยนักเรียนกลุ่มเป้าหมายสามารถสร้างโครงงานหุ่นยนต์ตามความสนใจเพื่อประเมินความคิดสร้างสรรค์ได้

 

Abstract

The objectives of this research were to develop the creative thinking , and learning

achievement of grade 12 students using project learning base on Constructionism theory of an apply robot subject, so that the students would have average score of learning achievement. The target group were 30 of Grade 12 Students, Bodindecha (Sing Singhaseni) School. The research design was Pre – Experimental Design as One Shot Case Study. The obtained data was analyzed in average standard division and percentage The research tools were:  1) The Learning Management Plan by project learning base on Constructionism theory, 10 Plans, 2) The creative thinking test, 3) Project work evaluation and 4) the learning achievement test of an apply robot subject. The research findings were found that: 1) The students were taught by learning activity management  by project learning base on Constructionism theory, had average score in creative thinking in order of 1) originality        2) fluency 3) flexibility and 4) elaboration were 85.33%. There were 90% of total number of students passing higher than the specified criterion. 2) The students taught by Learning Activity Management by project learning base on Constructionism theory, had average score in learning achievement test, were 81.44%. In addition, there were 90% of students passing higher than the specified criterion.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑาทิพย์ อินต๊ะ. (2554). ผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียน

บ้านกองลอย อําเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2547). 14 วิธีสอนสําหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สฤษดิ์ บรรณะศรี. (2550). การพัฒนาบทเรียนโดยใช้เว็บเทคโนโลยีตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ (Constructionism) เรื่อง หยาดฝนชโลมใจและวัยใส วัยสร้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543. ปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียนสําคัญที่สุด. กระทรวงศึกษาธิการกรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ, 2551. พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง.

สุวิทย์ มูลคํา, 2550. กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์, พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สํานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, UTQ Online, สืบค้นคืน 30 เมษายน 2556 จาก http://www.utgonline.in.th/

Guilford, J.P. and Fruchter, Benjamin. (1971). Fundamental Statistics in Psychology and Education.6th ed. New York: McGraw-Hill, Inc.