มองสำนวนภาษาญี่ปุ่นและธรรมเนียมปฏิบัติจากวัฒนธรรมการกินอาหารของคนญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
อาหารญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นตามยุคสมัย โดยมีความสอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ ฤดูกาล และสังคมของประเทศญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นยังได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพุทธศาสนานิกายเซนที่เน้นความเรียบง่าย แต่สง่างาม ภาษาเข้ามาเชื่อมโยงกับอาหารเนื่องจากเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เช่น การใช้ภาษาในการเรียกชื่อ หรืออธิบายอากัปกิริยาในการกินอาหาร ซึ่งในสังคมญี่ปุ่นนั้นได้กลายเป็นวัฒนธรรมเฉพาะที่บ่งบอกถึงความเป็นญี่ปุ่นที่แตกต่างจากสังคมของชนชาติอื่นๆ ในบทความนี้ได้มีการวิเคราะห์สำนวนต่างๆ ของภาษาญี่ปุ่นจากวัฒนธรรมการกินอาหารของคนญี่ปุ่น โดยยึดหลักการวิเคราะห์สองประการ กล่าวคือ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาษาญี่ปุ่นกับอาหารและวัฒนธรรมการกินตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ และวิเคราะห์หลักปรัชญา ความรู้สึกนึกคิดของคนญี่ปุ่นจากวัฒนธรรมการกินในยุคปัจจุบัน โดยได้ชี้ให้เห็นว่า การเข้าใจลักษณะอาหารและการกินของคนญี่ปุ่นนั้น มีความสำคัญในการทำความเข้าใจวัฒนธรรมและความนึกคิดของคนญี่ปุ่น จึงสามารถสรุปได้ว่า การเข้าใจวัฒนธรรมการกินและสำนวนภาษาญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์กับการกินนี้เป็นปัจจัยที่จำเป็นที่ชาวต่างชาติจะทำความเข้าใจ ความเป็นอยู่ หลักปรัชญา และความรู้สึกนึกคิดของคนญี่ปุ่น เพื่อที่จะสามารถสร้างการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชาวญี่ปุ่นให้ได้ดียิ่งขึ้น
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
ดับเบิล เครก และมัทสึโมโตะ เซทสึโกะ. (2548) ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตจริง ตอน อาหารญี่ปุ่น, แปลโดย กิ่งดาว ไตรยสุนันท์ กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ภาษาวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ปรียา อิงคาภิรมย์. (2550). ข้อห้ามมารยาทบนโต๊ะอาหาร. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2556, จาก http://www.preeya.japankiku.com 2556.
ฟรุตะ ยูการิ และฮัตโตริ ยูคิโอะ. (2552). เปิดตํานานอาหารญี่ปุ่น, แปลโดย สุกัญญา จีระนันตสิน และไอลดา ศราทธทัต กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ภาษาวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
มารุโกะโทะ (ไทยแลนด์), (2554). Japanese Foods: ศิลปกรรมความอร่อยจากดินแดนซากุระ, กรุงเทพฯ : ชยภร พับลิเคชั่น.
วาตานาเบะ ทาดาชิ. (2551). เคล็ดลับและมารยาทในโต๊ะอาหาร, แปลโดย ยุวลักษณ์ ลิขิตธนวัฒน์ มูระเซะ, กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ภาษาวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
อารียา ไชยทิพย์อาสน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น. (2555). สัมภาษณ์, 7 พฤศจิกายน 2555.
Okada Syoko. (2009). Macrobiotic Cooking the Basics of Basics. Osaka : Nakashima Koubundo Printing Co.