จริยศาสตร์ของการพัฒนา: บทสำรวจวิวาทะว่าด้วยการพัฒนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในประเด็นต่างๆทางจริยศาสตร์ของการพัฒนา คือ ความหมายของการพัฒนาและวิวาทะของแนวคิดในประเด็นว่าด้วยชีวิตที่ดี, ความยุติธรรม และสิ่งแวดล้อมอันเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาการพัฒนา ในประเด็นปัญหาเรื่องความหมายของการพัฒนานั้น พบว่า จุดร่วมของทุกความหมายคือ ความหมายของการเปลี่ยนแปลงที่ดี ซึ่งการตีความโลกทัศน์ทางอภิปรัชญาและจริยศาสตร์จะสอดคล้องกับแนวคิดของการพัฒนาที่แตกต่างกัน โดยในประเด็นว่าด้วยชีวิตที่ดีนำเสนอมโนทัศน์คู่ตรงข้ามระหว่างแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่มองว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มั่งคั่งในทางเศรษฐกิจ กับแนวคิดมนุษยนิยมที่เห็นว่า ชีวิตที่ดีคือการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในทุกด้านเพื่อการบรรลุซึ่งอิสรภาพ ส่วนในประเด็นเรื่องความยุติธรรมเป็นวิวาทะระหว่างแนวคิดที่เน้นผลรวมของการพัฒนาอย่างแนวคิดอรรถประโยชน์นิยมกับแนวคิดที่เน้นเรื่องของความเท่าเทียมในสังคมของจอห์น รอลส์และอมาตยา เซน ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ ประเด็นว่าด้วยสิ่งแวดล้อมที่นำเสนอโลกทัศน์แบบมนุษย์เป็นศูนย์กลางที่มนุษย์มีสถานะเป็นนายเหนือสิ่งแวดล้อม กับโลกทัศน์แบบระบบนิเวศเป็นศูนย์กลางที่ทุกสรรพสิ่งต่างเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายและมีคุณค่าเท่าเทียมกัน
Abstract
This article’s objective is to study various issues and concepts of the ethics of development i.e. the meanings of development and conceptual debates on the good life, equity and environment, which are significant issues on development studies. On the meaning of development, the study found that the joint between all definitions are the meaning of the good change which metaphysical and ethical interpretation of world view would be in accordance to different concepts of development. The issue on the good life proposed two opposite concepts between neo-liberalism representing that the good life is a life with economic wealth and humanism that proposed the idea of the good life as the development of human potential in all aspects in order to reach the liberation. The issue of equity is the debate between a concept focusing the sum-ranking of result like utilitarianism and another that emphasized on equality like John Rawl’s and Amartya Sen’s. Lastly, the issue of environment that represented the concept of anthropocentric view which human is on despotic position over environment, and the concept of ecocentric view which all things are connected as a web and shared equal value.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”