แนวทางการส่งเสริมการตลาดสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการส่งเสริมการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ ผู้นำและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง จำนวน 17 คน ผู้วิจัยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และหลักการวิเคราะห์ SWOT Analysis
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี มีสมาชิกในกลุ่มประมาณ 27 ครัวเรือน ซึ่งมีอาชีพหลักคือ ปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียร์ มีศักยภาพด้านผู้นำ และมี การบริหารจัดการกลุ่มอย่างชัดเจนและเป็นระบบ มีการส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกเกิดความร่วมมือและมีส่วนร่วม ในการกำหนดแนวทาง เป้าหมายการดำเนินงาน รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานของกลุ่ม โดยพบว่า จุดอ่อนของกลุ่มคือ การส่งเสริมการตลาดขาดการโฆษณาและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสมาชิกกลุ่มขาดความรู้ในการส่งเสริมการตลาดและการใช้เทคโนโลยี สำหรับแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการตลาดควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินการและภาครัฐควรสร้างองค์ความรู้ต่างๆ ด้านการตลาด ให้กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด การใช้เทคโนโลยี หรือการใช้สื่อออนไลน์
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Atipanan, S. (2007). Strategies for community enterprise development for self-reliance. Bangkok: Department of Agriculture Extension. [in Thai]
Dararuang, K. (2017). Development of Product and Market strategy for Ban Kao Lame Community Enterprise, Nakhonsawan Province. Journal of Suthiparithat, 31(100), 130-143. [in Thai]
Kaosumpuns, K. (2017). The Promotion Effectiveness of Fresh-coffee Consumption Behavior among Consumers in Chiangmai Province. Master Business Administration, Chiang Mai Rajabhat University. [in Thai]
Kenaphoom, S. (2018). The Approach for Developing the Effectiveness of the Small and Miro of Community Enterprise (SMCE) in Maha Sara Kham Province. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 2(3), 68-85. [in Thai]
Phongphit, S. (2007). Community Enterprise: The Paradox of the Competition of Business. Silpakorn University Journal, 37(2), 131-150. [in Thai]
Phuapisit, P. (2018). The Commercial Marketing Guidelines of Banana Flour in Bakery Business. RMUTP Research Journal Humanities and Social Sciences, 3(2), 28-41. [in Thai]
Promsaka Na Sakolnakorn, T. & Sungkharat, U. (2017). Development Guidelines for Small and Micro Community Enterprises in Songkhla Lake Basin. Journal of Humanities and Social Sciences, 10(1), 97-122. [in Thai]
Puangpejara, K. (2018). The Marketing Promotion by Community’s Participation of Rai San Fan Community
Enterprise, Nikhom Sang Ton-eng Sub-district, Mueang District, Lop Buri Province. Veridian E-journal, Silpakorn University, 11(2), 1455-1467. [in Thai]
Rojanasang, C. & Kamolsukudom, N. (2010). Market Strategy Model of Agricultural Products, Agro-Industry Products and Handicraft Products, Under Sufficiency Economy Project in the Northeast Region of Thailand. Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Samerjai, C. (2015). Market Strategy Development for A Community Enterprise: A Case Study of BangKlang Subdistrict Administrative Organization, Nontaburi Province. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 104-115. [in Thai]