การทดลองนำร่องเพื่อพัฒนารูปแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนให้เหมาะสมกับภาพอนาคตอุปสงค์แรงงานของจังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และทดลองนำร่องรูปแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนระยะสั้นโดยภาคการศึกษาซึ่งเหมาะสมกับภาพอนาคตอุปสงค์แรงงานของจังหวัดตาก และสังเคราะห์รูปแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนที่เหมาะสมกับจังหวัดตากในระยะยาว รูปแบบการวิจัยที่ใช้คือ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยการทดลองนำร่องการอบรมเชิงปฏิบัติการชื่อว่า “Skilled Youths by Tak for Better Tak” ซึ่งมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองนำร่อง 30 คน จาก 4 โรงเรียนในอำเภอ
แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ นอกจากนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมจัดการทดลองนำร่องครั้งนี้ทั้งหมด 16 คน ซึ่งเป็นผู้แทนจาก 10 หน่วยงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคนในจังหวัดตาก จากการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการให้นักเรียนที่เข้ารับการอบรมประเมินตนเอง จากนั้นวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดวงจรบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) พบว่า รูปแบบมหาวิทยาลัยประชารัฐซึ่งหมายถึง มหาวิทยาลัยเป็นแกนนำในการเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานอาชีวศึกษา อุดมศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อร่วมกันผลิตและพัฒนากำลังคน เป็นรูปแบบการผลิตและพัฒนากำลังคนที่เป็นไปได้และอาจเหมาะสมกับจังหวัดตากทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อพัฒนาเยาวชนตากให้มีสมรรถนะหลักเหมาะสมกับการเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพในอนาคต ในการตอบสนองตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของจังหวัดตากในฐานะจังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่ต้องการเป็น “เมืองท่าการค้าระหว่างประเทศทางบก” รูปแบบมหาวิทยาลัยประชารัฐในระยะสั้นคือ การอบรมเชิงปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยายการศึกษาดูงาน การทดสอบความถนัดทางอาชีพ และการประกวดเขียนแผนธุรกิจและแผนพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นแกนนำหลักในการทำงานร่วมกับโรงเรียนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่วนในระยะยาวจังหวัดตากสามารถดำเนินการรูปแบบมหาวิทยาลัยประชารัฐได้ โดยมหาวิทยาลัยเป็นแกนนำในการร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้บริการวิชาการโดยการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างน้อย 4 ครั้ง ในแต่ละภาคการศึกษาอย่างเป็นระบบและเป็นกิจวัตรสมํ่าเสมอ
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Borjas, G. J. (2000). Labor economics. Taiwan: McGraw-Hill Companies, Inc.
Chantavanich, S. (2014). Qualitative research methods. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House.
Chatakarn, W. (2014). Research for educational administration development. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House.
Chitchaeng, A. (2010). All for education. Bangkok: Thailand Research Fund.
Choomnoom, S., Nguyen, A. D., Chan, S. & Dyna, H. (2012). Innovative secondary education for skills enhancement: Innovative models for skills enhancement: Southeast Asia. Retrieved October 26, 2016, from http://r4d.org/sites/resultsfordevelopment.org/files/resources/Innovative
Gold, R. L. (1957). Roles in sociological field observations. Social Forces, 36, 217-223.
Johnson, G., Whittington, R., Scholes, K., Angwin, D. & Regnér, P. (2015). Fundamentals of strategy (3rd ed.). Harlow: Pearson Education Limited.
Labor Development Department. (2017). Provincial manpower development plan B.E. 2017-2021. Bangkok: Labor Development Department.
LeMahieu, P.G., Nordstrum, L. E. & Greco, P. (2017). Lean for education. Quality Assurance in Education, 25(1), 74-90.
Malaska, P. (2001). A futures research outline of a post-modern idea of progress. Futures, 33, 225–243.
Matichon. (2018, January 12). Ministry of Education held a meeting on drawing up integrative educational plans in six regions across the country. Matichon, p. 5.
Moen, R. D. & Norman, C. L. (2010). Circling back: Clearing up myths about the Deming Cycle and seeing how it keeps evolving. Retrieved September 18, 2019, from http://www.apiweb.org/circling-back.pdf
OECD (2019). Education Policy Outlook 2019. Retrieved September 16, 2019, from http://www.oecd.org/education/education-policy-outlook-2019-2b8ad56e-en.htm
Results for Development. (2013). Innovation secondary education for skills enhancement: Phase I synthesis report. Washington, DC: Results for Development Institute.
Suebnusorn, W. (2017). Expectations for educational changes in response to future demands of labor market in special economic zone provinces: A case study of Tak. Panyapiwat Journal, 9(3), 193-206.
Tak Provincial Governor’s Office. (2016). Draft of Tak special economic development zone’s manpower development master plan. Tak: Rajamangala University of Technology Lanna (Tak Campus).
Tanlaput, N. (2005). Management potential of the special border economic zone of Chiang Rai Province. Master of Political Science thesis, Chiang Mai University.
World Bank Group. (2016). Workforce Development in Emerging Economies: Comparative Perspectives on Institutions, Praxis, and Policies. Retrieved October 26, 2016, from http://wbgfiles.worldbank.org/documents/hdn/ed/saber/supporting_doc/Others/SABER_WFD_Global_Synthesis.pdf
World Bank Group. (2015). SABER Workforce Development: Infographic: What is SABER: WfD? How does it work? What are the findings? Retrieved October 26, 2016, from http://wbgfiles.worldbank.org/documents/hdn/ed/saber/supporting_doc/Background/WFD/SABER_WfD_Infographic.pdf