แนวทางการพัฒนาผู้ต้องขังให้เป็นครูสอนการทอผ้าไหม แบบมีส่วนร่วมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ต้องขังให้เป็นครูสอนการทอผ้าไหม ประเมินศักยภาพของการพัฒนาครู ค้นหามาตรฐานการสร้างครูต้นแบบ และสร้างครูต้นแบบสอนการทอผ้าไหมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมี 4 กลุ่มคือ 1) ผู้ต้องขัง (ครูสอนทอ
ผ้าไหม) ของกลุ่มวิชาชีพทอผ้าไหมจานวน 14 คน 2) ผู้ต้องขัง (ผู้เรียนใหม่) ของกลุ่มวิชาชีพทอผ้าไหม จานวน 14 คน 3) ผู้อานวยการและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทางานของกลุ่มทอผ้าไหมทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ จานวน 5 คน 4) อาจารย์ผู้สอน/วิทยากรผู้ให้ความรู้การทอผ้าไหมและทักษะการถ่ายทอดความรู้ จานวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบบันทึกกิจกรรม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยได้ผู้ต้องขังที่เป็นครูต้นแบบสอนการทอผ้าไหมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ จานวน 14 คน มีแนวทางการพัฒนาครูต้นแบบโดยแบ่งการอบรมเป็น 2 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้และทักษะการทอผ้าไหมสาหรับผู้ต้องขังที่ไม่เคยเข้าร่วมอบรม 2) กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาให้เป็นครูสอนทอผ้าไหมรุ่นใหม่ ส่วนการประเมินศักยภาพของการพัฒนาครู มี 3 วิธี คือ 1) การประเมินตนเองของผู้ต้องขัง (ครูสอนการทอผ้าไหม) 2) การประเมินโดยผู้ปกครองโรงงาน 3) การประเมินตนเองของผู้ต้องขัง (ผู้เรียนใหม่) เกี่ยวกับความรู้และทักษะในกระบวนการทอผ้าไหมซึ่งเป็นการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังจากเรียนกับครูสอนการทอผ้าไหม การค้นหามาตรฐานการสร้างครูต้นแบบ (คุณสมบัติของครู) พบว่า ครูต้นแบบควรจะใจเย็น มีเวลาให้กับผู้เรียน ครูควรระมัดระวังคาพูด และการปฏิบัติตัวต่อผู้เรียน รวมทั้งไม่ใช้อารมณ์กับผู้เรียน รับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน เปิดโอกาสในการให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและได้เรียนรู้ ชื่นชมหรือให้กาลังใจกับผู้เรียน
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Arsae, A., Yaming, M., Benda-o, A., Waesama, H. & Arsae, W. (2013). Guidelines for Youth Development as a Teacher of the Al-Quran in Qiraati System. Al-Quran Learning Center in Qiraati Makassul Quran System, Baraho Sub-District, Muang District, Pattani Province. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). [in Thai]
Boonpirom, S. (2014). Self-actualization for teachers. Bangkok: Triple Education. [in Thai]
Chetragran, S. (2009). Learning Approach for Development Thai Silk Weaving: A Case Study of the One Tambon One Product Project in the Middle Northeastern, Thailand. Doctor of Philosophy Program in Vocational Education, Kasetsart University. [in Thai]
Chumjit, Y. (2015). Self-actualization for teachers (6th Ed.). Bangkok: Odeon Store. [in Thai]
Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Ithaca NY: Rural Development Committee, Cornell University.
Gillis, A. & Jackson, W. (2002). Research Methods for Nurses: Methods and Interpretation. Philadelphia: F. A. Davis Company.
Maharatanasakul, P. (2013). Managing and developing human resources. Bangkok: Pannachon. [in Thai]
McNiff, J. & Whitehead, J. (2011). All You Need to Know about Action Research (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: SagePublications.
Thiensiri, J., Kaweera, S. & Potipruek, N. (2016). Thai Silk Weaving Vocational Curriculum Development for Chiang Mai Women Correctional Institution. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).
Walaisatian, P. (2005). Process and work techniques of developers. Bangkok: The project to promote learning for a happy community 2005. [in Thai]